เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนการแข่งขัน MotoGP ที่ประเทศไทย กับกติกาแบบเข้าใจง่ายๆ สำหรับมือใหม่!
ใกล้จะเข้าสู่การแข่งขันสุดยอดรายการอย่าง MotoGP กันในประเทศไทยแล้วที่สนามช้างในเดือนตุลาคม และแน่นอนว่ายังมาแฟนๆ รายการนี้บางคนหรือผู้ที่เริ่มจะดูรายการนี้ แล้วอาจจะยังไม่เข้าใจกฏกติกาในการแข่งขันกันทั้งหมด บทความนี้ทาง GreatBiker จะนำกฏกติกาและรายละเอียดมาสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ มาฝากกันครับ
ประวัติศาสตร์ของ MotoGP แบบสรุปอย่างย่อ
โดยในปี 1949 ปีแรกของการแข่งขันนั้นมีถึง 5 ระดับในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย 125 ซีซี 250 ซีซี 350 ซีซี 500 ซีซี และ Sidecar โดยใช้เครื่องยนต์แบบ สองจังหวะ และมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับนวัตกรรมของเครื่องยนต์รุ่นใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในปี 2002 ในการเปลี่ยนชื่อรายการแข่งขันจากเดิมมาเป็น MotoGP และได้ปรับเรื่องของเครื่องยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน และจำแนกประเภทออกมาได้ 3 รุ่น ประกอบไปด้วย MotoGP ที่มาทดแทนระดับ 500 ซีซี โดยมีการวางกฎกติกาที่ชัดเจนว่าจะต้องใช้เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ และเครื่องยนต์จะต้องมีขนาดความจุของกระบอกซีซีตั้งแต่ 800 – 1000 ซีซี หรือหากเป็นเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะจะต้องมีขนาดความจุไม่เกิน 500 ซีซี โดยยังคงระดับ 125 ซีซี และ 250 ซีซี ไว้เช่นเดิม ซึ่ง ในปี 2010 ก็มีการออกกฎใหม่ บังคับให้ทีมแข่งขันนั้นจะต้องใช้เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะเท่านั้น โดยขนาดความจุจะต้องอยู่ที่ 800 – 1000 ซีซี
ทำความเข้าใจการแข่งขัน
โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะชื่นชอบรับชมการแข่งขันในวันจริง ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ในการแข่งรายการต่างๆ แต่มีไม่มากเท่าไหร่นักที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้ว MotoGP เค้าเริ่มแข่งกัน 3 วัน โดยแบ่งออกเป็น
วันที่ 1 : Practice Day ที่จะเป็นวันซ้อมก่อนการแข่งขันจะมีรอบ FFP1 – 2 โดยแต่ละรอบนั้นจะมีการจับเวลา 45 นาที ต่อการซ้อม 1 รอบ
วันที่ 2 : Qualifying Day โดยจะมีการฝึกซ้อมทั้งสิ้น 2 รอบ ในรอบ FFP3-4 ซึ่งในรอบ FFP3 นั้นจะใช้เวลาทั้งสิ้น 45 นาที และ 30 นาที ใน FFP4 โดยในรอบ FFP3 จะมีการจับเวลาหา 10 นักแข่งที่ทำเวลาในแต่ Sector ได้ดีที่สุด เข้าสู่รอบ Q2 (Qualify 2) โดยในรอบ Q2 นั้นถือว่าเป็นการที่ผู้แข่งขันจะได้ออกสตาร์ทในตำแหน่งต่างๆ และหากใครสามารถเข้าไปในรอบ Q2 ได้จะการันตีการออกสตาร์ทที่เส้นที่ 12 เป็นอย่างต่ำ (หากไม่ทำผิดกฎและสะสมคะแนนครบตาม มาตราที่ตกลงกันไว้) โดยนักแข่งที่ไม่ได้ไปรอในรอบ Q2 นั้นจะต้องผ่านการ Q1 (Qualify 1) โดยจะหา 2 นักแข่งที่ทำเวลาได้ดีที่สุดเข้าไปยังรอบ Q2 สมทบกับนักแข่ง 10 คนที่ผ่านเข้ารอบไปก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเวลาของ Q1 นั้นจะอยู่ที่ 15 นาที และ Q2 อีก 15 นาที โดยนักแข่งจะออกมาวิ่งในช่วงเวลาใดก็ได้ภายใน 15 นาที ที่กำหนดไว้ โดยสามารถกลับเข้าไปพัก และออกมาวิ่งใหม่ โดยห้ามให้มีการปรับแต่งตัวรถในขณะที่เข้าไปพักใน Pit
วันที่ 3 : Race Day จะมีการออกไปวิ่ง 2 รอบ คือ Warm Up จะเป็นการออกวิ่งครั้งสุดท้ายและทำการเซ็ทอัพรถเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการแข่งขันจริง และในรอบ Race เข้าสู่การแข่งขันที่จะเป็นการแข่งขันจริง ซึ่งการชมแบบต่อเนื่องทั้ง 3 วันในการแข่งขันนั้นจะทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของบรรดานักแข่งและทีมแข่งอย่างชัดเจน และจะได้เห็นการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ทางทีมงานและนักแข่งนั้นจะแก้ไขเพื่อให้ตัวเองไปได้เร็วที่สุดในสนามการแข่งขันนั่นเอง
การให้คะแนนหลังจบการแข่งขัน
คะแนนการแข่งขันนั้นถูกวางระบบไว้โดยผู้ชนะในแต่ละสนามจะได้รับ 25 คะแนน อันดับที่สอง 20 คะแนน และอันดับที่สาม 16 คะแนน โดยจะลดระดับของคะแนนลงไปเรื่อยจนถึงผู้เข้าเส้นชัยที่อันดับ 15 จะได้ 1 คะแนน หากใครเข้าเส้นชัยต่ำกว่าหรือไม่จบการแข่งขันไม่ว่ากรณีใดจะไม่ได้รับคะแนนแม้แต่คะแนนเดียว
กติกาและข้อกำหนด
- นักแข่งจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปี และไม่เกิน 50 ปี
- รถที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีขนาดเครื่องยนต์ไม่ต่ำกว่า 800 ซีซี และไม่เกิน 1000 ซีซี
- ห้ามติดตั้งระบบ Super Charger หรือ Turbo หรือระบบแปรผันของการอัดอากาศมาใช้ในการแข่งขันโดยเด็ดขาด
- ห้ามให้ทีมแข่งขันใช้ชิ้นส่วนแฟร์ริ่งและตัวถังรถที่ผลิตจากวัสดุ ไทเทเนียม
- ห้ามใช้หัวหรือกระบอกลูกสูบที่ผลิตจาก คาร์บอน
- น้ำหนักของตัวรถเมื่อรวมกับของเหลวแล้วจะต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 157 กิโลกรัมขึ้นไป
- เครื่องยนต์ต่อ 1 นักแข่งสามารถใช้ได้สูงสุด 5 เครื่องต่อหนึ่งฤดูกาลเท่านั้น หากใช้เกินจะต้องถูกลงโทษด้วยการออกสตาร์ทจาก Pit Lane หลังจากนักแข่งทั่วไป ออกสตาร็ทไปแล้ว 10 วินาที
- กติกา Flag To Flag นักแข่งสามารถเข้ามาเปลี่ยนรถคันใหม่ได้ โดยรถคันที่สองจะต้องเซ็ทอัพไว้ก่อนที่จะออกสตาร์ท ซึ่งกติกานี้เป็นกติกาที่เริ่มใช้ในปี 2017 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุใน Pit Lane
- กติกา Green Zone กติกานี้เกิดขึ้นเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในการแข่งขัน โดยขอบสนามที่ทาสีเขียวไว้นั้นจะเป็นพื้นที่ห้ามข้าวของนักแข่ง หากใครเผลอหรือจงใจเข้าสู่ Green Zone นั้นจะถูกปรับให้คืนอันดับ หรือเพิ่มเวลาแล้วแต่กรณี
- กติกาการใช้ยาง ยางของการแข่งขันในระดับ MotoGP นั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ก็คือ ยางแห้ง และยางเปียก โดยยางแห้งนั้นจะมีการแบ่งประเภทตามความหนาของผิวยางแบ่งออกได้ 3 แบบ Hard Medium และ Soft ส่วนยางเปียกนั้นจะมีระดับความแข็งเพียง 2 ระดับคือ ยาง Hard และ Medium
- จำนวนยางที่สามารถใช้ได้สูงสุดในการทดสอบ 1 ฤดูกาลอยู่ที่ 120 ชุด ไม่รวมยางที่ใช้แข่งจริง
ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดและกติกาการแข่งขัน MotoGP แบบสรุปง่ายๆ ให้เข้าใจภาพรวม ซึ่งความจริงแล้วยังมีกติกาย่อยๆ เชิงลึกกว่านี้อีก แต่ยังไม่ขอลงรายละเอียดเพราะเดี๋ยวจะเยอะเกินไป อาจจะจดจำได้ลำบาก ทาง GreatBiker ก็ขอให้เพื่อนๆ รับชมการแข่งให้สนุกสนานในรายการ MotoGP 2019 ที่ประเทศไทยเรานี้ด้วยนะครับ
Sakon Supapornopas – Website founder greatbiker.com I like all types of motorcycles. Working in the automotive industry for more than 10 years, in-depth analysis of new motorcycle models. that will be launched in Thailand and abroad Review from actual use experience