8 นักแข่ง MotoGP ที่อยู่ผิดทีม ผิดเวลา
หลังจากการประกาศแยกทางกันด้วยดีของ Maverick Vinales กับต้นสังกัดทีมโรงงาน Monster Energy Yamaha MotoGP หลังจบฤดูกาล 2021 ที่กำลังดำเนินมาถึงกึ่งกลางของฤดูกาล มันทำให้เราได้ลองย้อนกลับไปมองอดีตทางดังที่เคยมีชื่อเสียงแต่ต้องมาหยุดการพัฒนาเมื่อย้ายไปสังกัดทีมที่อาจจะไม่ใช่สไตล์ที่เหมาะสมกับตนเองสักเท่าไหร่ และเราได้ลองรวบรวมมาไว้ในบทความนี้
Maverick Vinales – Yamaha 2017-2021
เปิดหัวคนแรกคนเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากตัวต้นเรื่องอย่าง “TopGun” Mavericl Vinales โดยยุคเริ่มต้นของเจ้าตัวในระดับสูงสุดนั้นออกสตาร์ทด้วยการเป็นดาวเด่นของทีม Suzuki ด้วยลีลาการแข่งขันที่บู๊ดุเดือดจนไปเข้าตา Lin Javis นายใหญ่ของทีม Yamaha จึงตัดสินใจดึงเอาดาวรุ่งสายแข็งมาจากทีม “Carzy Gang” แต่การเข้าไปสู่ชายคาของ Yamaha ของเจ้า “TopGun” นั้นก็มีอุปสรรคด้วยการที่เจ้าตัวต้องไปอยู่ใต้ร่มเงาของปูชนียบุคคลแห่งวงการ MotoGP อย่าง Valentino Rossi แต่เมื่อทีมได้ทำการผลาด Rossi และสร้างความหวังที่ Vinale จะเฉิดฉายบ้างก็ต้องถูกกลบรัศมีด้วยนักแข่งเลือดใหม่มาแรงแซงทุกโค้งอย่าง Fabio Quartararo และมันเป็นเป็นฉนวนที่จุดระเบิดความบาดหมางเล็กๆ ภายในทีม จนผลสุดท้ายเจ้าตัวก็ได้บรรลุข้อตกลงในการแยกทางกับต้นสังกัดหลังจบฤดูกาล 2021 และมีข่าวลือว่าเจ้าตัวเองต้องการรถแข่งที่มีความแรงที่เหลือกว่าเพื่อการไล่ล่าชัยชนะ มากกว่ารถแข่งที่เน้นการควบคุมเหมือนกับ Yzr-M1 ของ Yamaha และข่าวลือที่ว่านั้นก็มีทีมเต็งอย่าง Aprilia ที่พร้อมจะอุ้มเจ้าตัวในฤดูกาล 2022
Johan Zarco – KTM 2019
ถ้าจะขาดชายคนนี้ไปคงเป็นเรื่องแปลก Johan Zarco เติ่มสร้างชื่อกับทีม Tech3 ที่เป็นทีมรองให้กับ Yamaha โดยอดีตแชมป์ Moto2 สองสมัยชาวฝรั่งเศส เปิดตัวบนเวทีระดับสูงสุดด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมในปี 2017 ด้วยการคว้าอันดับที่ 6 บนตารางคะแนนสะสม และเป็นแชมป์ในฐานะของนักแข่งทีมอิสระ และยังพาทีม Monster Yamaha Tech 3 คว้าตำแหน่งแชมป์ทีมอิสระ และผลงานก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นในฤดูกาล 2018 ที่เจ้าตัวยังคงรักษาตำแหน่งแชมป์อิสระและพาทีมคว้าแชมป์อิสระเหมือนกับฤดูกาลที่ผ่านมา แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน ทีมแข่ง Tech3 ก็ตัดสินใจย้ายฝั่งไปบอกทีม KTM และได้รับการสนับสนุนเต็มรูปแบบจากโรงงานโดยตรง แต่ด้วยการปรับตัวที่อาจจะเร็วเกินไป ผลงานที่เคยโดดเด่นของ Zarco กลับไม่ตอบสนองต่อรถแข่ง RC-16 สักเท่าไหร่ และในช่วงปลายฤดูกาลเจ้าตัวก็โดนฟ้าผ่ากลางกะบาลหลังทีมตัดหางปล่อยวัด หลังรับกับพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่พอใจตัวแข่งและต้องการย้ายทีม จนท้ายที่สุดเจ้าตัวต้องกระเด็นไปเป็นนักแข่งแทน Takaaki Nakagami ดาวบิดเลือดซามูไรของทีม LCR Honda Idemitsu มีช่วงสามสนามสุดท้าย พร้อมออฟชั่นหากผลงานดีจะถูกดึงไปสังกัดกับทีมทันที แต่เจ้าตัวเองก็ไม่สามารถรีดเค้นศักยภาพสูงสุดของตนเองบน RC213V ได้ หลังลงแข่งสามสนาม และทำได้เพียง 3 แต้มให้กับทีม และถูกปล่อยตัวออกทันทีหลังจบฤดูกาล 2019 แต่เหมือนฟ้าหลังฝนจะงดงามเสมอ หลังจากการเข้ามาอุ้มของทีม Reale Avintia Racing ในฤดูกาล 2020 แสดงให้เห็นแล้วว่า Zarco นั้นเหมาะสมกับตัวแข่ง Ducati Desmosedici GP ขนาดไหน และผลงานในฤดูกาลปัจจุบันของเจ้าตัวก็นับว่าเป็นการเรียกฟอร์มเก่งกลับมาได้อีกครั้ง ราวกับฝันร้ายกับ KTM ได้จางหายไปเสียที
Jogre Lorenzo – Ducati และ Honda 2017-2019
ถ้าขาดชายคนนี้ไปหลายคนคงสงสัยกันน่าดูกับการย้ายที่เรียกได้ว่าเหนือความคาดหมายของอดีตแชมป์โลก 5 สมัย Jorge Lorenzo ที่หนีจาก Ducati มาซบรัง Honda พร้อมกับการเป็นเพื่อนร่วมทีมกับอริตลอดกาล Marc Marquez ในฤดูกาล 2019 ซึ่งมันเป็นเหมือนกับการตอกย้ำฝันร้ายที่ยังคงหลอกหลอนเจ้าตัวจากทีมเดิม โดยจุดเริ่มต้นของ Lorenzo บนเวที MotoGP นั้นเริ่มกับทีม Yamaha กับการผนึกกำลังกับ Valentino Rossi และเจ้าตัวยังสามารถคว้าแชมป์ MotoGP มาได้ถึง 3 สมัย กับต้นสังกัดส้มเสียง และด้วยรอยร้าวที่พร้อมจะแตกตลอดเวลากับทีมผู้บริหาร Lorenzo ถูกดีดออกจากทีมในฤดูกาล 2017 และไปซบอกยอดทีมอย่าง Ducati โดยฤดูกาลแรกที่เป็นการปรับตัวนั้นเจ้าตัวก็มีผลงานที่ไม่ขี้เหร่เท่าไหร่นัก ด้วยการคว้าไป 3 โพเดียมและจบบนตารางคะแนนสะสมด้วยอันดับที่ 7 แต่ฝันร้ายกลับเริ่มต้นในฤดูกาลที่สอง ในปี 2018 ถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะประสบความสำเร็จด้วยการคว้าชัยชนะได้ถึง 3 สนาม กับอีก 4 โพเดียม แต่ในคะแนนสะสมนั้นกลับทำได้น้อยกว่าเดิม โดยมีเพียง 134 คะแนนและจบด้วยอันดับที่ 9 บนตารางคะแนนสะสม เป็นเพราะอะไร ทั้งๆ ที่ชนะมากกว่าแต่กลับไม่สามารถเก็บแต้มได้ เป็นเพราะเจ้าตัวไม่สามารถควบคุมความแรงของ Ducati Desmosedici GP 18 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าแข่งสนามไหนจบไม่แชมป์ก็โพเดียม แต่ส่วนมากเจ้าตัวมักจะจบการแข่งขันก่อนใครในบ่อกรวดข้างสนามเสียเป็นส่วนใหญ่ จนทำให้เจ้าตัวมีอาการบาดเจ็บสะสมและยิ่งมาหนักขึ้นเมื่อตัดสินใจย้ายทีมไปเข้ากับ Honda ที่มีชื่อเสียงว่าตัวแข่ง RC213V ของทีมนั้นคึกยิ่งกว่าม้าศึกเสียอีก โดยฤดูกาล 2019 นั้นเจ้าตัวลงแข่งทั้งหมด 15 สนาม และไม่สามารถจบในอันดับ Top 10 ได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว ผลงานที่ดีที่สุดคือการเข้าเส้นชัยเป็นลำดับที่ 11 ที่ Le Mans ประเทศฝรั่งเศส และเมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่ใจฝันเจ้าตัวก็เล่นประกาศรีไทร์ตัวเองจากการแข่งขันซะเลย และกล่าวอ้างถึงอาการบาดเจ็บที่เจ้าตัวต้องทรมานทุกครั้งในการแข่งขัน จึงเป็นผลให้การทำงานทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่ก็อย่างที่เพื่อนๆได้เห็นกัน หลังจากการประกาศเพียง สองเดือนเศษๆ เจ้าตัวกลับไปรับหน้าที่ Test Rider ให้กับต้นสังกัดเดิมอย่าง Yamaha และมีข่าวลือในช่วงนั้นว่าอาจจะได้กลับมาแข่งแบบเต็มฤดูกาลอีกด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้วเหมือนเป็นผลพวงจากหลายๆ อย่าง เจ้าตัวก็หลุดจากหน้าที่ Test Riider ของทีม พร้อมกับการไม่ถูกบรรจุเป็นหนึ่งในนักแข่งของทีมซะอย่างงั้น ซึ่งในปัจจุบันเจ้าตัวก็หันไปเอาดีกับการทำงานบน Youtube และการร้องเพลงแทน
Cal Crutchlow – Ducati 2014
หนุ่มชาวอังกฤษเจ้าของรอยยิ้มกระชากใจแม่ยก Cal Crutchlow นั้นเริ่มต้นการแข่งขันใน WorldGP กับยุคเครื่องยนต์สองจังหวะ 125 ซีซี และ 250 ซีซี ก่อนจะผันตัวไปลงแข่งในรายการBritish Supersport (BSS) ในช่วงปี 2004-2006 ก็สามารถคว้าแชมป์ได้ 1 สมัย และขยับขึ้นไปแข่งในระดับ British Superbike อีก 1 ฤดูกาล ก่อนจะกลับไปคว้าแชมป์ Worldssp (World Super Sport) กับรถ Yamah YZF-R6 ในฤดูกาล 2008-2009 และนี้เป็นใบเบิกทางสู่การเข้าสู่ทีม Yamaha Monster Tech3 ในระดับ MotoGP ในปี 2011 และผลงานที่โดดเด่นที่สุดคือฤดูกาล 2013 ที่เจ้าตัวเก็บไปได้ถึง 4 โพเดี้ยมและจบบนตารางคะแนนสะสมด้วยอันดับที่ 5 ซึ่งทาง Ducati เองก็ไม่รอช้าที่จะส่งเทียบเชิญ “พี่คล้าว” ให้มาค้าคันเร่งกับทีม โดยจะเป็นตัวแทนของ Valentino Rossi ที่จะจากทีมไปในฤดูกาล 2014 โดยเจ้าตัวถูกคาดหวังมากกับการเข้าร่วมทีมโรงงานในครั้งนั้น แต่ก็ไม่สามารถเค้นความสามารถสูงสุดของ Desmosedici GP 14 ออกมาได้และจบฤดูกาลที่แสนยาวนานด้วยการคว้าไปเพียง 1 โพเดี้ยมและ 74 คะแนน จบบนอันดับที่ 13 จนทางต้นสังกัดต้องปล่อยตัวออกไป โดยมีทีม LCR Honda เข้ามาอุ้มต่อและช่วยลบฝันร้ายออกไปจากความทรงจำของ Clutchlow และเป็น 6 ฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมกับเจ้า RC213V ที่ถึงแม้จะเก็บไปได้เพียงชัยชนะเดียวตลอด 6 ปีในการร่วมทางกัน เจ้าตัวก็มีความสุขมากกว่า และในปัจจุบัน Cal Clutchlow ก็รับหน้าที่ Test Rider ให้กับทีม Yamaha แทนที่นักแข่งสายอินดี้ Jorge Lorenzo
Marco Melandri – Ducati 2008
เป็นอีกหนึ่งคนที่ประสบปัญหาบนตัวแข่ง Desmosedici GP สำหรับ Marco Melandri ที่เจ้าตัวประสบความสำเร็จอย่างมากกับทีมรองของ Honda ในฤดูกาล 204-207 โดยผลงานสูงสุดของเจ้าตัวบน RC212V ในช่วงเวลานั้นคือการไปถึงตำแหน่งรองแชมป์โลก ในปี 2005 กับทีม Movistar Honda MotoGP จนทำให้ Ducati ต้องดึงตัวเข้าสู่ทีมโรงงานในปี 2008 ซึ่งเจ้าตัวล้มเหลวกับตัวแข่ง Desmosedici GP 08 เป็นอย่างมาก โดยตลอดฤดูกาล เจ้าตัวทำผลงานได้ที่สุดด้วยการคว้าอันดับที่ 5 ที่ประเทศจีน ไม่สามารถเก็บอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 17 จนทีมต้องปล่อยตัวให้กับ Kawasaki ซึ่งเจ้าตัวกลายเป็นนักแข่งคนสุดท้ายของทีมยักษ์เขียวในระดับ MotoGP และหันหน้าไปสู่เวที WorldSBK ในปี 2011 จนถึงปี 2018 เจ้าตัวก็เกษียนตัวเองจากอาชีพนักแข่ง กับทีม Aruba.it Racing – Ducati โดยมีเกียรติยศติดตัวคือการคว้าแชมป์โลก 250 ซีซี (Moto2 ในปัจจุบัน) เมื่อปี 2002
Sam Lowes – Aprilia 2017
Sam Lowes ดาวบิดสัญชาติอังกฤษ เป็นนักแข่งไม่กี่คนที่เข้าสู่การแข่งขันบนเวทีระดับสูงสุดเพียงปีเดียว กับต้นสังกัด Aprilia ในปี 2017 หลังจากเจ้าตัวเริ่มต้นบนเวที WorldGP กับการแข่งขันในระดับ Moto2 ในปี 2014 ซึ่งในปี 2017 นั้นเจ้าตัวต้องทนทุกข์ทรมานร่วมกับ Scott Redding ที่นับว่าเป็นช่วงเวลาของการตั้งไข่กับทีม Aprilia ใน MotoGP โดยทั้งสองคนถูกมองว่าเป็นเหมือนสนามน้อยในสนามแข่ง การไม่ซับพอร์ทของทีม การถูกจำกัดด้านงบประมาณ และการเข้าถึงของทีมวิศวกร ทำให้ทั้งสองคนต้นกลายเป็นเหมือนนกกับตัวตลกในสนามการแข่งขัน ซึ่งในปีต่อมาเจ้าตัวก็ฉีกสัญญาที่เซ็นร่วมไว้กับทีม 3 ฤดูกาล และกลับไปตั้งใจกับการแข่งในระดับ Moto2 เหมือนเดิม ซึ่งก่อนฤดูกาล 2021 จะเริ่มขึ้นนั้น หลังจากทีม Aprilia เองต้องเสีย Andrea Iannone ไปหลังรับฐานแบนจากการตรวจเจอสารกระตุ้น Sam Lowes เคยมีชื่อเป็นตัวเลือกของทีม แต่เจ้าตัวกล้าที่จะออกมาประกาศปัดข้อเสนอที่จะอุ้มชูสถานะภาพของอาชีพนักแข่งและทิ้งประโยคเด็ดไว้ว่า “การทำงานที่นั้น ไม่สนุกเหมือนที่ใครคิด และผมยืนยัน 100% ว่าไม่มีทางกลับไปแน่นอน”
Karel Abraham, และ Tito Rabat – Avintia Racing
สองนักแข่งดวงกุดกับทีมรองดวงแตก น่าจะเป็นคำนิยามที่เหมาะสมที่สุดกับ Karel Abraham, และ Tito Rabat กับทีม Avintia Racing เผื่อว่าใครยังไม่ทราบนะครับ Karel Abraham เป็นลูกชายของเจ้าของสนาม Bruno ในเช็ก และเป็นท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ให้กับทีมแข่งมาอย่างยาวนานตลอด 7 ปีบนเส้นทาง MotoGP ของตนเอง และบทบาทนี้ก็สิ้นสุดลงเมื่อทีมเจราจาเอา Johan Zarco เข้ามาในทีมเมื่อฤดูกาล 2020 ซึ่งเป็นการนำเข้าของคำสั่งโดยตรงจากทีมโรงงาน ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีแหล่งเงินใหญ่สุดจากครอบครัว Abraham ที่จะให้มากกว่าโรงงาน Ducati ซับพอร์ต แต่ทางทีมก็จำเป็นที่ต้องตัดนักแข่งตัวหักของทีมออกไป เรื่องนี้แทบไม่ต่างจาก Tito Rabat ที่เดิมทีมีชื่อเป็นนักแข่งเต็มฤดูกาลให้กับทีม แต่เมื่อเจอใบสั่งจากโรงงานให้นำเอา Luca Marini มาเข้าทีม ต้นสังกัดก็ไม่มีทางเลือกใดๆ ต้องตัดตัว Rabat ให้กลายเป็นนักแข่ง Widecard ซึ่งเจ้าตัวเองก็ไปลงในเวที WorldSBK แทนหลังการช่วยเหลือของ Ducati แต่ดูเหมือนว่าช่วงเวลาที่ WolrdSBK จะไม่ใช่เรื่องสนุกสำหรับเจ้าตัวแต่อย่างใด
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.motogp.com www.visordown.com
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.