เจาะให้ลึกถึงแก่น กับความแตกต่างระหว่างรถแข่ง MotoGP และรถซุปเปอร์สปอร์ตที่วางจำหน่ายทั่วไป
เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยสงสัยกันถึงความแตกต่างของรถที่ใช้ในการแข่งขัน MotoGP และรถมอเตอร์ไซค์ซุปเปอร์ไบค์ที่วางขายกันในตลาดทั่วไปนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไมราคามันถึงได้ต่างกันลิบลับทั้งๆ ที่รถที่ใช้ใน MotoGP นั้น แทบจะไม่มีออฟชั่นอะไรให้เลย แต่กลับราคาแพงและมีผู้คนต้องการเป็นเจ้าของมากกว่ารถโปรดักชั่นที่ขายกันอยู่ในท้องตลาด วันนี้ทีมงาน GreatBiker จะพาเพื่อนๆ ไปรับรู้ถึงความแตกต่างในจุดนี้กันครับ
เริ่มต้นก่อนเลยต้องทำความเข้าใจกันในลำดับแรกก่อนว่ารถที่ใช้ในรายการแข่งขันอย่าง MotoGP นั้นเป็นรถในประเภท Stock หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ในการแข่งขันเท่านั้น เรื่องของประสิทธิภาพ สมรรถนะ และพละกำลังของเครื่องยนต์นั้นมีความความแตกต่างกับรถ Prodution ที่วางขายอยู่มากพอตัว เรามาเริ่มเปรียบเทียบถึงความแตกต่างกันได้เลยครับ
โครงสร้าง
ต้องบอกเลยว่าส่วนนี้ถ้าเทียบกับตัวบุคคลก็เหมือนกับร่างกาย โครงสร้างของรถใน MotoGP นั้นจะมีความพิเศษกว่ารถทั่วไปอยู่มาก ทั้งในด้านความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และน้ำหนัก ที่จะต้องทำมาให้เบาและต้องแข็งแรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีกฎข้อบังคับต่างๆ โดยส่วนมากแล้วโครงสร้างของรถ MotoGP นั้นจะเป็นโครงสร้างในรูปแบบหล่อชิ้นเดียว โดยจะมีจุดเชื่อมต่อน้อยมาก นั้นก็เป็นเพราะโครงสร้างที่มีรอยเชื่อมต่อนั้นจะทนต่อผลจากอัตราเร่งที่น้อยกว่าการหล่อแบบชิ้นเดียว ซึ่งมันแตกต่างกับรถทั่วไปตามท้องถนนที่อาจจะมีจุดเชื่อมต่อของโครงสร้างอยู่หลายจุด นั้นก็เป็นเพราะว่ารถ Production นั้นไม่ได้ใช้อัตราเร่งสูงเป็นระยะเวลานานเท่ากับรถ MotoGP ที่ต้องใช้ทั้งรอบเครื่องยนต์ที่สูงตลอดการแข่งขัน และโครงสร้างรถ MotoGP นั้นต้องทนต่อ ผลของอัตราเร่งได้โดยไม่ฉีกขาดออกจากกัน ดังนั้นทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโครงสร้างในรถแข่ง MotoGP นั้นจะสูงกว่ารถทั่วไป ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อใช้ทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยนั้น ราคาของมันก็พุ่งสูงตามไปด้วย
น้ำหนักตัวรถ
สอดคล้องกับหัวข้อที่แล้วเมื่อโครงสร้างของรถ MotoGP นั้นมีน้ำหนักที่เบากว่าปกติแล้วน้ำหนักของตัวรถเมื่อเปรียบเทียบกับรถทั่วไปในคลาสที่เท่าๆ กันนั้น น้ำหนักของรถ MotoGP นั้นจะมีน้ำหนักที่เบากว่าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้รวมไปถึงออฟชั่นต่างๆ ที่ไม่จำเป็นในสนามแข่งขันเช่น พวกระบบไฟส่องสว่างต่างๆ หน้าจอแสดงผล ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่บางอย่างเช่น ABS ฯลฯ จะไม่ถูกติดตั้งในรถแข่ง MotoGP ด้วย ดังนั้นน้ำหนักตัวของมันจึงเบากว่ารถทั่วไปอยู่มาก โดยกฎข้อบังคับของ FIM นั้นบังคับไว้ว่า รถที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีน้ำหนักตัวเท่ากับ 157 กิโลกรัมไม่รวมผู้ขับขี่ เรามาลองเปรียบเทียบกันดูระหว่าง Honda Rc213v รถที่ใช้ใน MotoGP ของทีม LCR Honda นั้นจะมีน้ำหนักตัวทั้งสิ้นอยู่ที่ 160 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ Honda CBR1000RR SP2 รถโปรดักชั่นที่เทียบคลาสได้ใกล้เคียงที่สุดยังมีน้ำหนักตัวถึง 197 กิโลกรัม นับว่าหนักกว่ากันไปเกือบ 40 กิโลกรัมเลยทีเดียว
เครื่องยนต์
รถแข่ง MotoGP นั้นมีข้อกำหนดง่ายๆ อยู่ไม่กี่ข้อ เช่น จำนวนปริมาณกระบอกสูบนั้นจะต้องมีความจุไม่เกิน 1000 ซีซีโดยที่ขนาดของลูกสูบนั้นจะต้องไม่มากกว่า 81 มิลลิเมตร ใช้จำนวนลูกสูบสูงสุดได้ 4 ลูกสูบ ซึ่งข้อกำหนดนี้ใช้กันมาตั้งแต่ปี 2012 หลังจากจบยุคของเครื่องยนต์ 2 จังหวะไป ซึ่งส่วนมากทีมแข่งขันแต่ล่ะทีมนั้นจะนิยมใช้เครื่องยนต์แบบ “สูบวี” หรือสูบแอลแล้วแต่องศาการวางของตัวกระบอกสูบ ซึ่งมีเพียง 2 ค่ายที่ใช้เครื่องยนต์แบบสี่สูบเรียงนั้นก็คือ Yamaha และ Suzuki และแน่นอนว่าการใส่เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ของแต่ล่ะค่ายรถนั้นจะถูกจัดมาลงในรถ MotoGP เป็นส่วนมาก ด้วยเหตุผลก็เพราะว่าการทำงานของเครื่องยนต์นั้นจะมีการทำงานที่ต้องการศักยภาพที่สูงกว่ารถที่วิ่งบนท้องถนน ต้องทนทานต่อการใช้งานที่หนักหน่วง และยังต้องทำน้ำหนักของตัวเครื่องให้เบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อในการขับขี่แข่งขันนั้นน้ำหนักของตัวรถเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ตัวรถนั้นเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่าการทำงานของเครื่องยนต์ที่หนักหน่วงนี้ก็ต้องการดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้กันนั้น ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ทีมแข่งจะเลือกสรร ยกตัวอย่างเช่น ทีม LCR Honda และนักบิดชื่อดังแห่งสหราชอณาจักร Cal Crutchlow ซึ่งสนับสนุนโดย Castrol POWER1 ที่ถือเป็น 1 ในแบรนด์น้ำมันเครื่องระดับโลกเบอร์ต้นๆ และที่สำคัญเทคโนโลยีที่ใช้ในการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นเทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์ของ Castrol อย่าง Castrol POWER1 Racing อีกด้วย
การ Mapping เครื่องยนต์
กล่องสมองกลที่หลายๆ คนรู้จักในชื่อของ ECU นั้นก็มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก โดยระบบ ECU ที่มีในรถ MotoGP นั้นจะปลดปล่อยพละกำลังของเครื่องยนต์และช่วยในเรื่องของการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพที่สูงที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดซึ่งแตกต่างกับการเชตค่าจากโรงงานของรถ Production ที่ต้องคำนึงการใช้งานเป็นหลัก รวมไปถึงการควบคุมมลพิษและไอเสียสู่บรรยากาศภายนอก หากดูแบบนี้แล้วเวอร์ชั่นของ Software ที่ใช้ควบคุมการทำงานของระบบนี้มันคือคนล่ะเวอร์ชั่นกันเลยก็ว่าได้ โดยรถ MotoGP นั้นจะมีทีมวิศวกรดูแลเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งการทำงานของทีมนี้ก็คือการปรับเซตค่าต่างๆให้ตรงกับความต้องการของผู้ขับขี่ให้ได้มากที่สุด
เพียงเท่านี้ก็เห็นได้ถึงความแตกต่างของรถมอเตอร์ไซค์สองประเภทนี้กันแล้วนะครับ หากเราจะพูดว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีของรถที่ใช้ในการแข่งขัน MotoGP นั้นอาจจะดูไกลตัวเราเกินไปหน่อย แต่มีสิ่งหนึ่งที่บรรดาค่ายต่างๆ ก็ได้ใช้ความพยายามหยิบยกเอานวัตกรรมเหล่านี้มาใส่ในรถที่วางขายทั่วไปอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับนวัตกรรมการดูแลรักษาเครื่องยนต์ที่ใช้ในระดับ MotoGP ซึ่งปัจจุบันก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายดายกว่า อย่างเช่น น้ำมันเครื่องจาก Castrol ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กไบค์ที่เน้นในเรื่องของสมรรถนะสูงๆ หรือรถมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะทั่วไป Castrol ก็มีน้ำมันเครื่องที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ครบทุกประเภท เช่น Castrol POWER1 Racing ที่เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100% และด้วยเทคโนโลยีพิเศษ Race Derived ที่ได้รับการพัฒนาโดยตรงจากทีมแข่ง ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ไหลลื่นและฟิล์มน้ำมันแข็งแกร่ง ช่วยลดแรงเสียดทานในเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับรถบิ๊กไบค์ที่ต้องการสมรรถนะสูงเป็นอย่างยิ่ง มาให้เลือก 2 ความหนืด SAE 10W-40 และ 10W-50 ส่วนรถมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะทั่วไป ก็จะมี Castrol POWER1 ที่มาพร้อมเทคโนโลยี Power Release ที่ช่วยให้รถมอเตอร์ไซค์ของคุณมีอัตราเร่งดั่งใจ
ขนาดการแข่งขันระดับโลกอย่าง MotoGP ยังไว้ใจ Castrol แล้วเพื่อนๆ ล่ะ จะรออะไร ลองซื้อมาใช้กันดูนะครับ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.bikesrepublic.com www.castrol.com
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.