“บิ๊กไบค์”….ขี่ได้….กับขี่เป็น เส้นแบ่งบางๆ ที่ไม่ควรจะมองข้าม (ตอนที่ 2)
เรียนให้ดี ขับขี่ให้เป็น ไม่ใช่ ขี่ได้ !!!
แน่นอนว่า จุดมุ่งหมายหลักของบรรดาเหล่าสิงห์นักบิดทั้งหลาย ที่กลับเข้ามาเรียนรู้ในการขับขี่บิ๊กไบค์อย่างจริงจังและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ก็เพื่อความปลอดภัยเพียงสิ่งเดียว
สำหรับดาราคนหนึ่งที่ต้องบอกเลยว่ามีความชื่นชอบบิ๊กไบค์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร จนเริ่มที่จะเปลี่ยนจากความชอบจับธุรกิจตัวหนึ่งที่ชื่นชอบ นั่นก็คือ การนำเข้ารถบิ๊กไบค์ยี่ห้อ ไทรอัมพ์ คุณดอม เหตระกูล ยืนยันได้เลยว่า เป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องป้องกันอุบัติเหตุให้น้อยลง สำหรับผมเองคิดว่า คนที่เดินมาซื้อรถ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ต้องให้ความปลอดภัยด้วยการสร้างทักษะการขับขี่ให้ถูกต้อง
ถ้าจะมองในแง่ดี ก็คือ คนที่ขับขี่บิ๊กไบค์ส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับการขับขี่ กลุ่มต่างๆ เนื่องจากต้องการออกทริปหรือขับขี่ให้สนุกสนานและปลอดภัย ไม่อยากให้มีอุบัติเหตุ คนใหม่ในกลุ่มก็ถูกสอนโดยมือาชีพ หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในกลุ่มแต่ละกลุ่ม หรือมีการแนะนำให้ไปเรียนด้วยซ้ำซึ่งนั่นทำให้ 80% เข้าใจและรู้ถึงทักษะต่างๆ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการขับขี่ และนำไปต่อยอดฝึกฝน เรียนรู้จนชำนาญ
คุณศุภฤกษ์ คูณเสวก เผยกับเราว่า “หลังจากที่ผมได้ซื้อรถบิ๊กไบค์มาได้ไม่นาน ก็ได้ตัดสินใจที่จะซื้อหมวกกันน็อก กางเกงการ์ดป้องกัน ถุงเมือ รวมไปถึงรองเท้าป้องกัน ซึ่งรวมๆ แล้วงบที่ตั้งไว้ สูงถึง 4 หมื่นบาท ให้เพียงเหตุผลเดียว คือ มันคุ้มค่ากับการลงทุนเมื่อเทียบกับชีวิตของเราทุกครั้งที่ต้องขับขี่บิ๊กไบค์นั่นเอง”
ในปัจจุบันนี้มีโรงเรียนหลายแห่งที่เปิดอบรม สอนเกี่ยวกับทักษะการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น Honda ขับขี่ปลอดภัย ที่สอนให้เรา 4 ครั้งแล้วพร้อมที่จะพาไปสอบใบขับขี่ (เหมาะสำหรับผู้ที่ขับขี่ไม่เป็นเลยและยังไม่มีใบขับขี่) เพราะเขาจะสอนเราตั้งแต่รถแบบออโต้เมติก รถแม่บ้าน รถแบบมีคลัช รวมไปจนถึงรถบิ๊กไบค์ ถัดมาก็จะเป็นค่ายรถยุโรป แบรนด์ดังอย่างดูคาติ ที่มีการสอนถึง 4 ระดับ Beginner , Basic , Intermediate , Advance…. ตั้งแต่การจูงรถ ก็เพื่อต้องการให้ผู้ขับขี่เข้าใจถึงสรีระในตัวรถ เรื่องของระบบเกียร์ การวิ่งทางตรง การเทโค้ง หรืออาจจะเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่การขับขี่ด้วยเทคนิคชั้นสูงแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นเทพ อดีตนักแข่งมืออาชีพ ที่ผันตัวมาถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ต่างๆ ให้กับผู้ที่ต้องการขับขี่อย่างปลอดภัย
เกรินมาได้สักพักเชื่อกันว่าตอนนี้หลายๆ คนก็คงจะเกิดคำถามในใจว่า จะเรียนไปทำไม เรียนแล้วได้อะไร ขับขี่ก็ได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามองย้อนกลับไป เริ่มกลับมาเรียนเพราะไปเจอกับอุบัติเหตุด้วยตัวเอง หรือแม้แต่คนใกล้ตัว ก็เริ่มที่จะตระหนักถึงความสำคัญ ยิ่งถ้าเป็นพวกรุ่นใหญ่บางคนก็มีอีโก้เยอะ ก็แทบจะไม่มาเรียนเลยก็ว่าได้ แต่ในปัจจุบันนี้ ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ๆที่บิ๊กไบค์ในบ้านเราเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการรณรงค์ในเรื่องของการขับขี่ที่ปลอดภัย บวกกับดารานักแสดงต่างๆ ก็ช่วยกันโปรโมทและให้ความสำคัญกันมากขึ้น คนทั่วไปจึงเริ่มที่จะเรียนรู้การขับขี่บิ๊กไบค์ที่ถูกวิธีจากผู้สอนการขับขี่ที่ถูกต้องและเชี่ยวชาญนั่นเอง……อย่างน้อย ๆ ถ้าคุณเอง คือไบค์เกอร์มือใหม่ ที่อยากจะเป็นผู้ขับขี่ที่ดี ควรจะใส่ใจสักนิดเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนรอบข้าง…..
สำหรับการจัดระเบียบบิ๊กไบค์
มีหลายคนถามมาว่า เมื่อไรจะถึงเวลาที่จะต้องมีการจัดระเบียบรถบิ๊กไบค์ที่จริงๆ จังๆ เสียที จากปัญหาของอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เกิดจากการที่ผู้ขับขี่เองไม่ได้รับการอบรมให้มีความรู้ในเรื่องของการขับขี่ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่เพียงพอต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการขับขี่บนท้องถนนจริง
สำหรับการอบรมในประเทศไทยนั้น ถ้าผู้ที่ต้องการที่จะมีใบอนุญาตในเรื่องของการขับขี่รถจักรยานยนต์ เพียงแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น ก็สามารถที่จะได้ใบขับขี่รถจักรยานยนต์มา ซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่จะมีการเรียนรู้ในเรื่องของการขับขี่ ก่อนทำการลงสอบ ทั้งภาคทฤษฎี 26 ชั่วโมงและการอบรมทักษะการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่จะแยกออกไปอีกตามประเภทของซีซีรถ เช่น ถ้ามีขนาดไม่เกิน 125 ซีซี จะต้องมีการผึกขับขี่ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือถ้าเป็นรถตั้งแต่ขนาด 125 – 400 ซีซีจะต้องได้รับการฝึกขับขี่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 19 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นรถที่มีขนาดตั้งแต่ 400 ซีซี ขึ้นไปจะต้องได้รับการฝึกขับขี่อย่างน้อย 36 ชั่วโมงถึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่รถออกมาได้นั่นเอง….
ในประเทศไทยนั้น นักวิชาการหลายท่าน เสนอว่า ให้กรมการขนส่งทางบก ปรับปรุงในเรื่องของการออกใบอนุญาตการขับขี่ โดยให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่ผู้ขับขี่พึงมี เพื่อป้องกันความสูญเสียและผลกระทบอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเสนอให้มีการแยกใบอนุญาตการขับขี่ออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยระดับ A รถจักรยานยนต์ขนาดเล็กที่ไม่เกิน 125 ซีซี ระดับ A1 ให้เป็นรถที่มีขนาดกลางไม่เกิน 400 ซีซี และรถขนาดใหญ่ ที่มีขนาด 400 ซีซีขึ้นไป โดยในรถดับ A นั้น ควรจะมีการฝึกทักษะการขับขี่และอบรมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 19 ชั่วโมง และถ้าเป็นรถที่มากกว่า 125 ซีซี ก็ควรที่จะมีการอบรมเพิ่มจำนวนขึ้นไปตามความเหมาะสม
ขอบขอบคุณภาพประกอบจาก : car250.com, youtube.com, thairpm.com
ขอขอบคุณข้อมูลเบื้องต้นจาก : posttoday.com