Marc Marquez แชมป์โลก MotoGP 2019 ตอนที่ 1
ไม่มีอะไรน่าประทับใจไปกว่าการที่ Marc Márquez ได้ฉลองแชมป์ MotoGP ถึงครั้งที่ 6 ใน 7 ปีที่เขาได้เข้ามาร่วมการแข่งขันนี้ มันไม่ใช่เรื่องที่น่าเหลือเชื่อเกินจริงเลย แต่ทว่าเขามาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร เราลองมาย้อนดูกันเลยครับ
Marc Márquez ได้ถูกจารึกชื่อเป็นแชมป์ MotoGP 2019 และเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 8 หลังจากชนะการแข่งที่ไทยเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งในซีซั่นนี้เขาสามารถขึ้นเป็นแชมป์ในแบบหาใครเปรียบเทียบได้ยาก ด้วยการชนะอันดับ 1 ถึง 9 สนาม ชนะอันดับ 2 อีก 5 สนาม และไม่จบการแข่งขัน 1 สนาม ที่ Austin ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในเรื่อง Engine brake ที่เป็นปัญหาของ Honda RC213V ในช่วงต้นของฤดูกาลนี้
นักแข่งคนเดียวที่เคยทำผลงานเป็นแชมป์คล้ายๆแบบนี้มาก่อนก็คือ Valentino Rossi ในฤดูกาล 2002 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการเปลี่ยนมาใช้รถเครื่องยนต์ 4 จังหวะ 990 cc. ซึ่งพ่อหมอได้สร้างตำนาน ชนะอันดับ 1 ทั้งหมด 11 สนาม จาก 16 รายการ ได้อันดับ 2 อีก 4 สนาม และไม่จบการแข่งขัน 1 สนาม ซึ่งเกิดจากปัญหาที่ยางหลัง ซึ่งการแข่งในปีนี้ เป็นเพียงปีที่ 3 ของ Rossi ในการแข่งขันระดับสูงสุด ซึ่งนับเป็นแชมป์ต่อเนื่องหลังจากได้แชมป์ครั้งแรกในรุ่น 500cc เครื่องยนต์ 2 จังหวะ และถือว่าเขาเป็นแชมป์เปี้ยนรถ 2 จังหวะคนสุดท้ายนั่นเอง
อีกคนหนึ่งที่พอจะมาเปรียบเทียบกับ Márquezได้ ก็ต้องย้อนกลับไปอีกก็คือแชมป์ของ Mick Doohan ในปี 1997 โดยเขาเขาชนะอันดับ 1 ถึง 12 สนาม ใน 15 รายการ ได้อันดับ 2 อีก 2 สนาม และแข่งไม่จบในสนามสุดท้าย ที่บ้านเกิดของเขาเองบนเกาะ Phillip
หากย้อนกลับไปอีกเล็กน้อยก็ต้องพูดถึง Freddie Spencer ซึ่งทำผลงานชนะ 7 สนาม ได้อันดับ 2 อีก 3 สนาม ล้ม จนแข่งไม่จบที่ Assen และเลือกไม่ลงแข่งสนามสุดท้ายที่ Misano ในปี 1985
Giacomo Agostini ผู้เป็นตำนานแห่ง MotoGP
แต่ถ้าพูดถึงที่สุดของแชมป์ก็ต้องพูดถึง Giacomo Agostini แห่งทีม MV AGUSTA ที่เขาสามารถทำผลงานชนะอันดับ 1 กับไม่จบการแข่งขันในทุกสนาม ตั้งแต่ ปี 1968-1971 หรือเรียกว่า ถ้าแข่งจนจบก็จะได้แชมป์ทุกสนาม 4 ปีติดต่อกันเลยทีเดียว!
ใกล้กว่าทุกครั้ง..
ตัว Márquez ในปี 2019 นี้ กำลังจะอยู่ในจุดที่เหนือกว่าทุกๆคนที่ได้กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตาม ในการแข่งยุคปัจจุบัน ก็มีความเข้มข้นในการแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ แตกต่างจากยุคสมัยของ Agostini ที่เขาเป็นเข้าของทีมเอง และรักษาแชมป์ได้ดีกว่าทีม และนักแข่งที่เหลือ
หรือแม้แต่ในปี 1985 ที่ Spencer เป็นแชมป์ คู่แข่งตัวจริงของเขาก็มีแค่ Eddie Lawson ที่สามารถขึ้นมาสู้สีกับเขาในการป้องกันแชมป์รุ่น 500cc และ 250cc ในฤดูการแข่งเดียวกัน
ส่วน Doohan ก็ได้เจอกับความท้าทายขึ้นมาอีกหน่อย โดยเขาต้องแข่งกับเพื่อนร่วมทีมของตัวเอง อย่าง Tady Okada และ Alex Crivillé ในปี 1997 ซึ่งเป็นการต่อสู้กับนักแข่งมือฉมัง โดยเขาต้องใช้ Honda NSR500 ที่ไม่ได้มาจากโรงงานโดยตรง ขับเคี่ยวกับนักแข่งอีกสองคนที่ได้รับารสนับสนุนโดยตรงจากโรงงาน
Mick Doohan กับ Honda NSR500 รถแข่งเครื่องยนต์ 2 จังหวะในตำนาน
ช่องว่างระหว่างอันดับบนโพเดี้ยมมันช่างกว้างใหญ่มากในยุคนั้น ในปี 1997 ความแตกต่างระหว่างที่ 1 กับที่ 3 อยู่ที่ห่างกันไม่เกิน 10 วินาที มีปรากฎให้เห็นแค่ 5 สนาม จากทั้งหมด 15 สนาม และห่างกันไม่เกิน 20 วินาที ในอีก 6 สนาม
การมาถึงของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ช่วยทำให้ช่องว่างเหล่านี้ลดลง ดังเช่น Rossi ที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างน่าประทับใจ เพราะถึงแม้จากนั้น Honda RC211V เป็นรถชั้นนำในการแข่งขัน ซึ่งอันท่ีจริงแล้ว มันได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในรถมอเตอร์ไซค์แข่งขันที่ดีที่สุดตั้งแต่มีการสร้างขึ้นมา
ช่องว่างเฉลี่ย ระหว่างอันดับ 1 และอันดับ 2 ได้ขยับมาใกล้เคียงกันระดับ 9 ใน 10 ของวินาที ในปี 2019 และ ในปี 2002 แต่ความแตกต่างที่แท้จริงนั้นต้องเทียบกับอันดับที่เหลือ เช่นในปี 2002 ช่องว่างระหว่างอันดับ 1 และ 3 ต่างกันเกือบ 9 วินาที แต่มันลดลงมาเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งในปี 2019 และในปี 2002 ห้าอันดับแรกนั้นจะอยู่ห่างกันไม่เกิน 20 วินาที แต่ตอนนี้มันกระชั้นขึ้นมาเกือบเท่ากับ 10 อันดับแรกแล้ว ดังตารางสถิติด้านล่าง
ความเข้มข้นในการแข่งขัน ของ MotoGP ปี 2002 เทียบกับปี 2019
ช่องว่างเฉลี่ย | 2002 | 2019 | ระยะเวลาที่ลดลง | ร้อยละ |
1st-2nd | 3.208 | 2.311 | 0.897 | 28.0% |
1st-3rd | 8.873 | 4.328 | 4.545 | 51.2% |
1st-5th | 20.649 | 9.631 | 11.018 | 53.4% |
1st-10th | 57.889 | 22.780 | 35.109 | 60.6% |
Valentino Rossi บน Honda RC211V สุดยอดรถแข่งแห่งศตวรรต
รถแข่งกำลังดีขึ้น และจะมีตามมาอีก..
ในปี 2019 ข้อแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดก็คือ ช่องว่างของแต่ละทีมในการแข่งขัน เพราะถ้าหากมองกลับไปในปี 2002 จะมีแค่ Honda กับ Yamaha เพียงสองโรงงานเท่านั้นที่สามารถแข่งขันกันได้อย่างสูสี แต่ในปัจจุบันนี้ Honda Yamahs Ducati และ Suzuki ต่างก็มีโอกาสได้แชมป์กันอย่างน้อย 1 ครั้ง
การแข่งขันนั้นมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่สิ้นสุดฤดูกาล 2002 เมื่อ Honda ได้เริ่มใช้ RC211V ทำให้นักแข่งทีมรองประสบความสำเร็จขึ้นมาอย่างมากมาย ทั้ง Daijiro Kato และ Alex Barros ในปี 2019 ถ้าเราลองหยิบเอา Marc Márquez ออกไป ก็จะมีนักแข่งอีก 7 ถึง 8 คนที่มีโอกาสคว้าชัยชนะได้บ้าง
สิ่งที่ทำให้ Márquez ในปี 2019 เป็นแชมป์ที่โดดเด่นยิ่งกว่าใครก็คือความสามรถเฉพาะตัวของนักแข่งที่ใช้รถคันเดียวกัน ในปี 2002 สมัยที่ Rossi ยังสังกัดทีม Honda ที่เขาได้เป็นแชมป์นั้น ก็มีนักแข่งจากทีมเดียวกันอีกสองคน จบใน 4 อันดับดับแรก โดย Tohru Ukawa เพื่อนเร่วมทีมของเขาเองก็สามารถจบในอันดับที่ 3 ไม่ห่างกันมาก
Takeo Yokoyama ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Honda
แต่ในปี 2019 นี้ นักแข่ง Honda ที่อยู่อันดับถัดมาก็คือ Cal Crutchlow ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 9 โดยหากลองกลับไปในปี 2002 อีกครั้ง รถ RC211V สามารถพุ่งทะยานเข้าเส้นชัยอันดับ 1 ได้ 14 ครั้ง ด้วยนักแข่งที่ต่างกันถึง 3 คน แต่ในปีนี้กลับมี Márquez คนเดียวที่สามารถคว้าชัยชนะโดยการขี่เจ้า RC213V
ในปี 2002 RC211V ได้รับการยกย่องในวงกว้างว่าเป็นรถที่ดีที่สุดบนสนามการแข่ง แต่ในปี 2019 Takeo Yokoyama ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Honda ได้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาได้สร้างรถมีตำหนิที่มีพลังแรงม้าสูง และเขารู้ดีว่า Márquez จะต้องขี่มันพร้อมกับมีที่ปัญหาที่ตามติดไปเป็นเงา และ Márquez จะต้องหาวิธีที่จะเอาชนะการแข่งจากรถคันนี้ด้วยตัวเอง โดยเขาได้กล่าวว่า
“ในช่วงฤดูหนาว ช่วงที่เราได้ทดลองปรับปรุงรถ เรารู้ว่าเรามีนักแข่งที่ดีที่สุดในโลก และเราต้องให้พลังแก่เขา เพราะถ้าคุณไม่มีพลังในความเร็วช่วงกลาง คุณก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย แม้นักแข่งที่เก่งที่สุดก็จะไม่สามารถทำอะไรได้ ดังนั้นเราจึงทุ่มเทกันอย่างมากในช่วงฤดูหนาว เพื่อที่เพิ่มจะพลังแก่เขาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เรารู้ดีว่ามันจะต้องมีปัญหาอื่นๆตามมา แต่เราตัดสินใจแล้ว แน่นอนจะต้องมีปัญหาอื่นเกิดขึ้นแน่ แต่ก็นั่นแหละ เขาเป็นนักแข่งที่เก่งที่สุด ดังนั้นเขาอาจจะจัดการมันได้”
ติดตามต่อได้ในตอนที่ 2 เร็วๆนี้…
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก www.asphaltandrubber.com www.motorcyclemuseum.org varadyaar.blogspot.com sportv.globo.com www.motogp.com