Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 1150x250
Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 400x300

สิทธิบัตรใหม่ Kawasaki เรื่องระบบ Hub Steering

สิทธิบัตรใหม่ Kawasaki

สิทธิบัตรใหม่เอี่ยมจาก Kawasaki ผู้ผลิตชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ที่หลังจากจากเข้าซื้อกิจการของ Bimota เมื่อปลายปีที่ผ่านมาถึง 49% และได้มอบเครื่องยนต์ Supercharge ให้กับทาง Bimota ไป ในที่สุดสิ่งที่ได้คืนมานั้นก็คือระบบ Hub Steering ที่ทางผู้ผลิตอิตาลีเป็นผู้บุกเบิก แต่จะว่าไปแล้ว Kawasaki เองก็ไม่ได้ถ่ายสำเนามาทั้งดุ้น แต่กลับพัฒนาเพื่อการผลิตในจำนวนมาก และอาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของวงการมอเตอร์ไซค์

รูปภาพ 2020 ฺBimota Tesi H2
Bimota Tesi H2

เป็นคำถามที่หลายๆ คนค่อนข้างจะงงงวยเป็นอย่างมากกับการเข้าซื้อกิจการขนาดเล็กอย่าง Bimota ของ Kawasaki ด้วยสาเหตุหลายๆ อย่างที่ทำให้พวกเราสงสัยว่าทำไมผู้ผลิตลำดับที่สามของโลกมอเตอร์ไซค์สนใจในค่ายขนาดเล็ก ที่มีการผลิตโมเดลเพียงไม่กี่รุ่นในช่วงเวลา 30 ปีที่ก่อตั้งบริษัท ซึ่งต้องบอกก่อนว่า Bimota นั้นก่อตั้งบริษัทกันในปี 1990i แต่เริ่มการพัฒนาระบบ Hub Steering มาตั้งแต่ปี 1982 ในช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา และตลอดเวลากว่า 30 ปีในการก่อตั้งบริษัท Bimota ได้ผลิตโมเดลเพื่อการจำหน่ายไม่ถึง 10 รุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่การผลิตเครื่องยนต์ส่งต่อไปยังค่ายอื่นๆทั้ง Ducati, Bmw, Suzuki,Yamaha และ Kawasaki ที่ภายหลังกลายเป็นผู้ถือหุ้น 49% ของบริษัทในปัจจุบัน

1999 Bimota SB6 รูปภาพ
Biomta SB6

คำตอบเพียงหนึ่งเดียวสำหรับการเข้าซื้อหุ้นกิจการครั้งนี้ของ Kawasaki ก็เพื่อระบบ Hub Steering ที่ Bimota เป็นผู้ถือครองอยู่ ซึ่งชัดเจนว่าระบบช่วงล่างที่ Bimota เป็นผู้คิดค้นขึ้นมานั้นมีความโดดเด่นทั้งเรื่องของรูปลักษณ์และประสิทธภาพในการใช้งาน แต่ก็ติดปัญหาอยู่ที่การผลิตในจำนวนมาก ระดับ Mass Production นั้น ต้นทุนในการผลิต 1 คัน นั้นสูงเป็นสองเท่าของรถมอเตรอ์ไซค์ทั่วไป และราคาต้นทุนในการผลิตที่สูงนี้กลายเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ Bimota เข้าสู่สภาวะของแบรนด์ผู้ผลิตที่มีขนาดเล็กจากจำนวนการผลิตที่ไม่ได้สูงมากสักเท่าไหร่

สิทธิบัตรใหม่ Kawasaki

แต่ล่าสุด Kawasaki ได้เปิดเผยข้อมูลสิทธิบัตรใหม่เอี่ยม ที่น่าจะนำเอาระบบ Hub Steering ของ Bimota มาพัฒนาใหม่ โดยการลดต้นทุนเพื่อการผลิตในจำนวนมาก โดยเจ้าระบบ Hub Steering ใหม่ของ Kawasaki นั้นมีความแตกต่างจากระบบเดิมๆ ของ Bimota อยู่พอสมควร ซึ่งเห็นได้ชัดว่ายักษ์เขียว ได้เลือกใช้งานระบบสวิงอาร์มหน้าแบบแขนเดี่ยว แทนที่ระบบสวิงอาร์มหน้าแบบคู่ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับที่ Yamaha เลยทำมาแล้วในปี 1993 กับโมเดล GTS1000 แต่มีความแตกต่างที่ระบบสวิงอาร์มแขนเดี่ยวนั้นเชื่อมต่อโดยตรงกับโครงสร้างหลัก ซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างและตามข้อมูลเทคนิคนั้นสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้กว่า 10-15% เลยทีเดียว

รูปภาพ 1993 Yamaha GTS1000
1993 Yamaha GTS1000

สำหรับการเชื่อมต่อสวิงอาร์มหน้ากับโครงสร้างหลักโดยตรงนั้น เป็นแนวคิดที่ชาญฉลาด ซึ่งเดิมที่เจ้าระบบสวิงอาร์มหน้าแบบคู่จะรับภาระในการรับแรงเบรกจากล้อหน้า แทนที่ระบบโช้คอัพหน้าแบบธรรมดาส่งไปยังตัวจับแฮนด์ และแฮนด์บาร์ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดที่ล้อหน้า โดยเจ้าระบบสวิงอาร์มหน้าคู่จะใช้หลักการที่ใกล้เคียงกันกับระบบโช้คอัพหน้าปกติ ที่จะส่งแรงไปยังตัว Center Hub เพื่อกำหนดแรงกดส่งไปยังโช้คอัพหน้าที่วางนอนตามแกนและสร้างแรงกด ซึ่งความแตกต่างของระบบใหม่ของ Kawasaki นั้นจะใช้แรงที่เกิดจากโครงสร้างในการเคลื่อนที่ให้ส่งแรงกดไปยังล้อหน้าแทน โดยจะมีความแตกต่างกันที่องศาของแรงกดที่จะมีแรงกดในแนวดิ่งที่มากกว่าระบบเดิมของ Bimota ซึ่งภาระหน้าที่ที่จะมีบทบาทมากขึ้นนั่นก็คือ โครงสร้างที่จะแตกต่างออกไปจากรถมอเตอร์ไซค์ที่เราเคยพบเจอ เพราะนอกจากจะต้องรับหน้าที่ในการแบกน้ำหนักรถ ผู้ขับขี่แล้ว ยังต้องเป็นส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเบรก ซึ่งแน่นอนว่าราคาของมันน่าจะไม่ใช่น้อยๆ เลยทีเดียว

เอกสารสิทธิบัตรระบบ Hub Steering ของ Kawasaki 1

อีกความแตกต่างของระบบใหม่จาก Kawasaki ก็คือตำแหน่งการวางโช้คอัพหน้า ที่เลือกที่จะวางขวางกับตัวรถ ที่เดิมที่ Bimota จะเลือกที่จะวางโช้คอัพตามแนวของสวิงอาร์มหน้าคู่ ซึ่งการวางโช้คอัพแบบขวางของ Kawasaki นั้นจะวางอยู่ต่ำกว่าตัว Steering Head และใช้แรงกดจากสวิงอาร์มหน้าเดี่ยวในการทำงาน และเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการรับแรงจากการเข้าโค้งตามรูปแบบของสวิงอาร์มหลังเดี่ยว ที่หลายๆ ค่ายมักนิยมใช้กัน

เอกสารสิทธิบัตรระบบ Hub Steering ของ Kawasaki 2

เอกสารสิทธิบัตรระบบ Hub Steering ของ Kawasaki 3

แน่นอนว่าการเปิดเผยสิทธิบัตรใหม่ในครั้งนี้ของค่ายยักษ์เขียวนั้น อาจจะยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง หรืออยู่ในขั้นตอนของการผลิตจริง แต่ในแง่ของข้อมูลเทคนิคแล้ว การยื่นจดสิทธิบัตรครั้งใหม่นี้แสดงออกให้เห็นถึงความไม่ยอมแพ้ของ Kawasaki ที่ต้องการจะพัฒนาระบบเดิมที่เราเคยเห็นให้สามารถใช้งานได้จริงและอาจจะยกระดับระบบที่มีประสิทธิภาพนี้เข้าสู่ตลาดรถมอเตอร์ไซค์ได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าราคาจะถูกลงกว่าเดิมมากน้อยเพียงไหน แต่ถ้าเทียบได้กับคำว่า “นวัตกรรม” มันก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อยใช่ไหมครับ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.bennetts.co.uk