ถ้าขี่มอเตอร์ไซค์แล้ว กำลังจะหลุดโค้ง ต้องทำยังไง?!!!
บทความนี้เราจะขอพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้วิธีการรับมือและจัดการกับความเร็วในโค้ง หรือแม้แต่ “การหลุดโค้ง” ที่หลายๆ คนอาจจะเจอปัญหานี้ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในชีวิตประจำวัน ในการออกทริป โดยเฉพาะในทางโค้งที่เราไม่คุ้นเคย หรือไม่ชิ้นเส้นทางต่างๆ ลองไปดูกันว่าเราควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง
ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นั้น อาจจะมีหลายๆ ครั้งที่เราอาจจะเพลิดเพลินเกินไปในการเดินคันเร่ง และเอียงตัวเข้าโค้งบนถนนที่อาจจะมีโค้งยั่วยวนให้เราต้องเอียงตัว แบนเข้าโค้งอย่างสนุกสนาน แต่ถ้าหากเพื่อนๆ กำลังเจอปัญหา จากการเข้าโค้งด้วยความเร็วที่มากจนเกินไปและดูทรงแล้วว่าตัวรถอาจจะหลุดโค้งได้ หากเกิดขึ้นในสนามแข่งก็คงแก้ปัญหานี้ได้อย่างง่ายๆ เพียงตั้งรถให้ตรง ลดความเร็ว กำแฮนด์ให้แน่นแล้วพุ่งลงบ่อกรวดปลายโค้ง ก็คือจบ แต่สำหรับในชีวิตจริงแล้ว การหลุดโค้งอาจจะไม่มีบ่อกรวดที่รองรับเราจากความความเร็วที่มากเกินไป และเราคงไม่อยากจะเจ็บตัวจากเหตุการณ์แบบนี้ ดังนั้นนี้คือวิธีรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นกับเพื่อนๆ เมื่อไหร่ก็ได้
สกิล ทักษะ พื้นฐาน
เป็นธรรมดาของผู้ที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ยิ่งตัวรถที่มีเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ แรงม้า แรงบิดเยอะๆ แล้วล่ะก็ เรามี 5 สิ่งที่เพื่อนจำเป็นต้องมีก่อนการขับขี่ ย้ำว่าจำเป็นต้องมี ประกอบไปด้วย 1.ทักษะการเลี้ยว 2.วิสัยทัศน์ 3.ทักษะการควบคุมคันเร่ง 4.ทักษะการเบรก และ 5.การจัดตำแหน่งร่างกายในการขับขี่ ห้าข้อนี้เป็นพื้นฐานแบบรากเหง้าของการขับขี่มอเตอร์ไซค์ หากเพื่อนๆ ขาดข้อใดไปก็สามารถฝึกฝนและเรียนรู้เพิ่มได้ ทั้งผ่านผู้มีประสบการณ์และเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ที่เราแนะนำและเป็นทางออกที่ง่ายคือการเข้าไปรับการอบรมการขับขี่ที่ถูกต้อง ซึ่งนอกเหนือจะได้ทักษะในการขับขี่ที่ดีแล้ว ทัศนคติในการขับขี่ ของเพื่อนๆ อาจจะเปลี่ยนไปเลยก็ได้
อย่าตกใจ
สิ่งแรกที่เราควรทำเป็นอย่างแรกก็คือ อย่าตกใจ เป็นอันขาด เพราะหากเราตกใจ สมองจะสั่งให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง เหมือนกับสำนวนที่เราชอบพูดกันตอนนี้ “สตั้น” นี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด การตื่นตระหนักจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ทำให้แย่ลง โดยหลังจากการอาการตกใจที่เกิดขึ้นนั้นร่างกายของเราจะเกิดความเครียดทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล็อค แขนและขาของเพื่อนๆ จะไม่สามารถยั้งได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ในระยะสั้นๆนั้น ประสิทธิภาพในการควบคุมตัวรถนั้นจะลดน้อยลงไป อีกทั้งยังเป็นการเสียจังหวะและเวลาในการหาทางออกให้พ้นวิกฤตฉุกเฉินนี้อีกด้วย
เปิดวิสัยทัศน์ให้กว้าง
วิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะความตกใจ หรือตื่นตระหนักที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการหันหัวของเพื่อนออกจากปลายทาง พร้อมทั้งเปิดตาเพื่อกวาดสายตาในการหาทางออกไปในตัว อย่าลืมว่า เมื่อตาเรามองไปทางไหนตัวรถจะไปทางนั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งนั้นไม่ได้หมายถึงหันหน้าเพื่อหนีกับสิ่งที่เรากำลังเผชิญ แต่เป็นการเปิดตาเพื่อสร้างมุมมองให้กว้างขึ้นนั่นเอง
การควบคุมคันเร่ง
เป็นคำถามที่น่าสนใจ หากเราเจอกับสถานการณ์ฉุกเฉินแบบนี้ คงมีการตั้งคำถามกับการเปิดหรือปิดคันเร่ง หรือคลอคันเร่งไปกันนะ แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ “คันเร่งต้องปิด” เพราะเมื่อเราเปิดหรือคลอคันเร่งนั้น ความเร็วของตัวรถจะไม่มีการลดลง หรือจะลดลงในสัดส่วนที่ช้าจนเกิดไป และในรถที่ใช้ระบบเกียร์แบบธรรมดา อย่าลืมว่าเราต้องไม่บิดคลัทซ์เป็นอันขาด เพราะสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือการเปิดการใช้งาน Engine Brake อาศัยแรงเฉือนจากเครื่องยนต์เพื่อการชะลอ หรือลดความเร็ว และเมื่อเราช้าลงจนหัวรถสามารถหันไปยังทางออกที่เราต้องการได้ ก็ค่อนๆ เปิดคันเร่งเพื่อส่งให้ตัวรถเคลื่อนที่ไปยังทางออก
ลดหนึ่งเกียร์ ปรบท่า และค่อยๆ แตะเบรก
ขั้นตอนนี้ขอให้นำไปใช้ในจังหวะที่ตัวรถไม่มีการเอียงนะครับ ขอให้รถยังอยู่ในองศาปกติซึ่งเป็นจังหวะการเตรียมตัวก่อนเข้าโค้ง โดยเทคนิคนี้เป็นเทคนิคง่ายๆ แต่หลายคนที่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินมักจะหลงลืมกัน โดยส่วนมากแล้วหากคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วไปต้องการเบรกแบบฉุกเฉินก็คือจะคว้าทั้งเบรกหน้าและเหยีบเบรกหลังแบบสุดแรก แต่เพื่อนๆ ลืมไปหรือป่าวว่าการเบรกที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นจะต้องมีสามส่วนประกอบ 1.เบรกหน้า เบรกหลัง 2 Engine Brake 3.ตำแหน่งร่างกาย ซึ่งผู้คนส่วนมากมักจะใช้แค่ส่วนที่หนึ่งเท่านั้น แต่ก็มีบางคนก็บอกว่าก็ไม่บีบคลัทซ์แล้วไง ก็เปิดใช้ Engine Brake มันก็ใช่นะ แต่มันจะไม่ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และระยะของการเบรกนั้นก็จะไม่สั้นลงเลย ซึ่งการที่เราจะลดระยะเบรกที่ดีที่สุดก็คือการเพิ่มแรงฉุดของเครื่องยนต์ให้ได้มากที่สุด นั้นก็คือการลดตำแหน่งเกียร์ลงมาหนึ่งเกียร์ ด้วยรอบเครื่องยนต์ที่กำลังตกมาเจอกับการตีรอบที่สูงขึ้นจากการลดเกียร์ จะเกิดแรงฉุดจำนวนที่มากขึ้นกว่าการไม่ลดเกียร์ ซึ่งมันจะส่วนผลไปยังส่วนที่สามนั้นก็คือท่าทางในการขับขี่ ก่อนการลดเกียร์นั้นสิ่งที่ห้ามทำมากที่สุดก็คือการเหยียดแขนตรงจนสุด แต่ให้เพื่อนๆ งอข้อศอกและกางออกเล็กน้อย โน้นตัวไปข้างหน้าเพื่อรอรับแรงฉุดจากการลดเกียร์ ใช้ข้อศอกทำหน้าที่ให้เป็นโช้คอัพของตัวเรากับแฮนด์รถ ศีรษะมองตรงไปยังปลายทางที่จะไป จากนั้นค่อยๆ แตะเบรกหน้าและกดเบรกหลังเพื่อสร้างความสมดุลย์ของตัวรถ เท่านี้ก็สามารถชะลอความเร็วก่อนการเข้าโค้งได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วล่ะครับ
หักแฮนด์สวนทาง เปิดมุมให้กว้างขึ้น
นี้อาจจะเป็นวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่อาจจะยากไปสักหน่อย โดยจะแนะนำให้กับผู้ขับขี่ที่มีความชำนาญมากกว่ามือใหม่ คือการใช้เทคนิค Quick Countersteer หรือการหักแฮนด์สวนทาง แต่การใช้เทคนิคอันนี้ต้องพึ่งพาความชำนาญและใจที่ห้าวหาญเล็กน้อย เพราะมันจะไม่พาเราออกจากทางโค้งที่เรากำลังหวาดกลัว แต่จะทำให้เราลดความเร็วลงและสามารถเกาะไปกับโค้งได้ โดยที่การเปิดแฮนด์สวนโค้งนั้นจะต้องใช้พื้นที่ ซึ่งเราควรจะอยู่ด้านในของโค้ง และหักสวนเข้าไปยังด้านใน เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ในการลดความเร็ว จากนั้นเมื่อลดความเร็วได้ในระดับหนึ่งก็หักแฮนด์ย้อนกลับไปยังทางออกในทันทีและเปิดคันเร่งส่งให้ตัวรถเคลื่อนที่หนีโค้งด้านใน ดังนั้นหากยังไม่ชำนาญจริงยังไม่แนะนำให้ทำนะครับ
ทั้งหมดทั้งมวลของให้เพื่อนทำการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและลงมือปฎิบัติจริง โดยมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนให้บ่อยครั้ง เพื่อให้ร่างกายและกล้ามเนื้อเกิดการเรียนรู้และจดจำกระบวนการทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาในการลำดับขั้นตอน ทำให้เหมือนกับเพื่อนๆ ที่ว่ายน้ำเป็น เมื่อตกน้ำร่างกายจะขยับไปเองโดยอัตโนมัติเพื่อหลีกหนีจากการจมน้ำ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายสามารถจดจำได้เหมือนๆ กัน
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.bikesrepublic.com
Sakon Supapornopas – Website founder greatbiker.com I like all types of motorcycles. Working in the automotive industry for more than 10 years, in-depth analysis of new motorcycle models. that will be launched in Thailand and abroad Review from actual use experience