ตลาดมอเตอร์ไซค์อเมริกา เตรียมปรับราคาขึ้น หลังมาตราการภาษีนำเข้าของประธานาธิบดีคนใหม่
การเข้ามารับหน้าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของ Donald Trump กำลังจะส่งผลกระทบต่อการทำการตลาดจากแบรนด์ต่างประเทศในอเมริกาไม่น้อย ไม่เว้นประเทศเพื่อนบ้านอย่างแคนาดาและเม็กซิโก ที่เป็นฐานการผลิตยานยนต์หลายแบรนด์ กำลังจะมีการปรับราคาขึ้นจากมาตรการภาษีศุลกากรที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 20 มกราคมปีหน้า
Donald Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอแนวคิดในการปรับภาษีศุลกากรใหม่ ของสินค้านำเข้าจากประเทศที่จะปรับสูงขึ้น ไม่เว้นสินค้าที่ผลิตในประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ที่จะปรับภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 25% จะเริ่มปรับทันที นับตั้งแต่ Donald Trump เข้ารีบตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมที่กำลังจะมาถึงนี้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าเขาจะทำตามคำสั่งเหล่านั้นหรือไม่ เนื่องจาก Justin Trudeau นายกของแคนาดาและ และ Claudia Sheinbaum ประธานาธิบดีเม็กซิโก ได้โทรศัพท์คุยกับ Trump ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อหารือเรื่องการค้า อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี Sheinbaum บอกกับสื่อมวลชนว่า หาก Trump ทำตามคำสั่งภาษีที่เสนอ พวกเขาจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกามายังเม็กซิโกเช่นกัน
นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Donald Trump ได้ใช้นโยบายเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ หากแต่ในเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งนี้เมื่อปี 2017-2021 ก็เคยทำมาแล้ว แต่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักร ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น มอเตอร์ไซค์จากแบรนด์ Harley-Davidson ที่มีฐานการผลิตในยุโรปกลาง ซึ่งมีค่าแรงที่ต่ำกว่า ซึ่งส่งผลให้ตอนนี้ ทางบริษัทถอนฐานการผลิตออกจากอเมริกาจนหมดแล้ว
แล้วประเด็นนี้ก็จะเป็นแบบเดียวกับ ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับแบรนด์ Can-Ams ที่พึ่งจะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสองรุ่น ซึ่งทั้งคู่ใช้ฐานการผลิตในเม็กซิโก โดยมีตลาดหลักที่มีศักยภาพในการทำกำไรสูงสุดคืออเมริกา แต่เมื่ออัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น 25% เมื่อผนวกกับราคาปัจจุบันของ Can-Am Origin ที่วางไว้ 14,499 ดอลลาร์หรือประมาณ 493,235 บาท เมื่อราวอัตราภาษีใหม่เข้าไป จะมีราคาประมาณ 18,125 ดอลลาร์ หรือประมาณ 616,585 บาท ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน
และปัญหานี้ก็ไม่ได้เกิดเฉพาะกับแบรนด์ Can-Ams เท่านั้น แต่ยังหมายถึงผู้ผลิตทุกแบรนด์ ที่ไม่มีฐานการผลิตในสหรัฐ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคอื่นๆ ที่ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านของอเมริกาเอง ก็โดนหารเลขไปด้วย
กลยุทธ์นี้ เหมือนเป็นการบีบผู้ประกอบการโดยอ้อม หากต้องการที่จะลดอัตราภาษีตรงจุดนี้ การเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานภายในประเทศดูจะเป็นผลดีต่อการทำตลาดมากกว่า แต่ก็อย่าลืมว่า การลงทุนโรงงานผลิตนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน มันต้องศึกษาผลกระทบ และขึ้นอยู่กับสภาวะทางการเงินของผู้ประกอบการนั้นๆ แต่ถ้าหากจะรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านกลไกทางการเมือง ก็อาจจะต้องรออยู่มากสุด 4 ปี และดูว่าท่าทีของประธานาธิบดีคนใหม่ จะใช้นโยบายนี้เหมือนเดิมหรือไม่ ก็น่าคิดเหมือนกันนะ…
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.rideapart.com
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.