Honda กำลังพัฒนานวัตกรรมถุงลมนิรภัยบนรถมอเตอร์ไซค์
ถุงลมนิรภัยเป็นบรรทัดฐานในรถยนต์มานานหลายทศวรรษ และปัจจุบันส่วนใหญ่มีถุงลมนิรภัยหลายแบบเพื่อปกป้องผู้โดยสารจากทุกมุมในห้องโดยสาร ในทางกลับกันกับรถมอเตอร์ไซค์ แนวคิดนี้ดูเหมือนจะไม่ได้ไปต่อ หลังจากที่ Honda เคยพยายามมาแล้วก่อนหน้านี้
2006 Honda GL1800 รถมอเตอร์ไซค์คันแรกของโลกที่ติดตั้งระบบถุงลมนิรภัย
Honda เคยนำเสนอนวัตกรรมถุงลมนิรภัยบนผลิตภัณฑ์ของตนเองมาแล้ว โดยได้นำเอาเจ้า Honda Gold Wing GL1800 เจนเนอเรชั่นที่ 5 ในรุ่นปี 2006 มาทำการใช้งานระบบความปลอดภัยนี้ และยังคงมีการติดตั้งอยู่บนรถรุ่นใหม่ แต่จะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานในบางประเทศ ซึ่งระบบความปลอดภัยนี้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถลดอาการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ในทางปฏิบัติแล้ว ระบบถุงลมนิรภัยจะสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี เมื่อเกิดเหตุการชนอย่างรุนแรงที่ด้านหน้า เพราะด้วยการจัดวางท่าทางในการขับขี่ของตัวรถ Gold Wing ที่เหมือนกับการนั่งโซฟา เมื่อเกิดเหตุการณ์ชนที่ด้านหน้า จึงสามารถคาดเดาตำแหน่งของผู้ขับขี่ที่จะกระเด็นจากการชนที่รุนแรงได้ ในทางกลับกัน ถุงลมนิรภัยแทบจะไม่มีผลเมื่อตัวรถถูกชนจากด้านข้างหรือด้านหลัง ซึ่งทางผู้ผลิตเองก็พยายามอย่างหนักในการปรับปรุงการทำงานของระบบความปลอดภัยนี้มาอย่างยาวนาน
แม้ว่าตอนนี้ Honda กำลังดำเนินการพัฒนาถุงลมนิรภัยแนวใหม่ ซึ่งในที่สุดจะทำให้ผู้ขับขี่ได้รับประโยชน์ด้านความปลอดภัยแบบเดียวกับที่ผู้ใช้รถยนต์ได้รับมาอย่างยาวนาน ในทางกลับกันบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ในการขับขี่ โดยเฉพาะ Racing Suit หลายๆ เจ้าก็นำเอานวัตกรรมนี้มาดัดแปลงและติดตั้งบนชุดแข่งของตนเอง และดูเหมือนว่ามันจะได้รับความนิยมมากกว่าการติดตั้งบนตัวรถมอเตอร์ไซค์เสียด้วยซ้ำ เพราะส่วนใหญ่แล้วการติดตั้งถุงลมที่ชุด จะสามารถป้องกันความเสียหายของผู้ขับขี่ได้ดีกว่าการติดตั้งบนตัวรถ
ล่าสุดทางผู้ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยื่นคำร้องของครอบครองสิทธิบัตรในการออกแบบระบบความปลอดภัยนี้อีกครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นแนวคิดที่แตกต่างกันหลายประการในแนวคิดเดียวกัน แนวคิดหลักคือการมีถุงลมนิรภัยที่ติดตั้งอยู่ในเบาะนั่งของตัวรถ แต่จะโอบรอบตัวผู้ขับขี่ในกรณีที่เกิดการชน โดยแยกออกจากตัวรถอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยป้องกันผู้ขับขี่เมื่อกระเด็นออกจากตัวรถ ซึ่งทำให้ที่คล้ายกับระบบถุงลมของชุด Racing Suit ที่เราเห็นในรายการ MotoGP
ที่จะดูแตกต่างไป ก็คือตำแหน่งของการติดตั้งถุงลม ที่จะถูกย้ายจากด้านหน้า ไปอยู่ที่กึ่งกลางของเบาะนั่ง โดยหลักการแล้ว ถุงลมจะแตกออกและโอบรอบผู้ขับขี่ และจะปกป้องจุดสำคัญๆ ต่างๆ เช่น หน้าอก หัวไหล่ เป็นต้น มีข้อดีกว่าระบบที่มีอยู่หลายประการ เมื่อเทียบกับถุงลมนิรภัยแบบคงที่ของ Gold Wing การออกแบบใหม่ควรใช้งานได้กับสถานการณ์การชนที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่อุบัติเหตุด้านหน้าเท่านั้น
ตามข้อมูลจากเอกสารพบว่า มีการให้ข้อมูลของการแตกออกของถุงลม โดยใช้ก๊าซชนิดพิเศษ ที่ไม่ติดไฟ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอากาศจำนวนมหาศาลถูกอัดลงไปในถุงที่พับและติดตั้งอยู่บนตัวรถ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงวิธีการปิดผนึกถุงลมนิรภัย โดยใช้วาล์วติดตั้งอยู่ภายในตัวถุงลม เพื่อให้ลมออกด้วยความเร็วที่เลือก
แต่ด้วยทางปฏิบัติแล้ว การแตกออกของถุงลมนิรภัยนี้ จะสามารโอบผู้ขับขี่ในยามเกิดเหตุจริงๆ ได้หรือไม่ และหากมีผู้โดยสารซ้อนท้ายอยู่ การแตกออกของถุงลมจะเป็นอันตรายกับผู้โดยสารหรือไม่ เราต้อรอดูว่าทางผู้ผลิตเองจะมีการสานต่อนวัตกรรมนี้ในอนาคตหรือไม่ ซึ่งการจดสิทธิบัตรนี้ไม่ได้หมายความว่าจะมีการนำเอานวัตกรรมไปใช้งานจริงในเร็วๆ นี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดในการพัฒนาครั้งต่อไป
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.bennetts.co.uk
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.