สิทธิบัตรใหม่จาก Honda เปิดเผยหลักการ New Active-Aero ระบบอากาศพลศาสตร์ใหม่ล่าสุด
หลังจากเปิดตัว Honda CBR1000RR-R ไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่าน ซึ่งชัดเจนว่าโมเดลนี้จะถูกนำร่องในการใช้เป็นรถแข่งคันใหม่ของค่ายปีกนกในรายการ WorldSBK ฤดูกาล 2020 ซึ่งในฤดูกาลใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ มีการประกาศใช้กฎระเบียบใหม่ของอุปกรณ์อากาศพลศาสตร์ที่ชัดเจนมากขึ้น และล่าสุดดูเหมือนว่า Honda เองจะมีทางออกสำหรับปัญหาในเรื่องนี้แล้ว
จากการเปิดเผยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในยุโรป ได้มีการเปิดเผยข้อมูลใหม่ล่าสุดที่ทาง Honda ได้ใช้ในการยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่เป็นของตัวเอง โดยเจ้าสิทธิบัตรที่ว่านี้จะเน้นไปที่เรื่องอุปกรณ์อากาศพลศาสตร์เป็นหลัก โดยมีการตั้งชื่อระบบใหม่นี้ว่า New Active-Aero ซึ่งเป็นระบบอากาศพลศาสตร์ที่ไม่ตายตัว หรือสามารถอธิบายได้ง่ายว่ามันคือระบบที่สามารถเปิดและปิดการทำงานได้นั่นเอง
จากข้อมูลที่ได้มานั้น แสดงให้เราได้เห็นถึงอุปกรณ์อากาศพลศาสตร์ด้วยกันสามชิ้น โดยชิ้นแรกนั้นจะมีการติดตั้งอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของแฟร์ริ่ง โดยที่มีข้อมูลอธิบายหลักการทำงานว่า มันจะสามารถพับตัวเองได้ โดยการเปิดและปิดระบบการทำงานนั้นจะเกิดขึ้นจากการคำนวนของแกน IMU ที่ติดตั้งในตัวรถเอง โดยจะเปิดการทำงานทันทีเมื่อตัวรถนั้นตั้งตรงและมีความเร็วในระดับหนึ่ง ซึ่งอุปกรณ์ในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของ Down Froce ช่วยในการกดตัวรถให้อยู่ติดกับพื้นมากที่สุด และจะปิดการทำงานด้วยการพับลงไปหากระบบตรวจเจอการลดความเร็วอย่างกระทันหันหรือตัวรถเอียงตัว
ส่วนที่สองจะเป็นชิ้นที่ใหญ่ขึ้นมา โดยจะติดตั้งในส่วนล่างของแฟร์ริ่ง คล้ายๆ กับ Winglet อันเดิมของ CBR1000RR Fireblade รุ่นก่อน แต่ในรุ่นใหม่นี้จะใช้หลักการคล้ายกันเจ้าอุปกรณ์ชิ้นแรกด้วยระบบ New Active-Aero ที่ระบบจะเปิดการทำงานด้วยการกางออกหากตรวจพบข้อมูลตามเงื่อนไขที่วางไว้และจะปิดการทำงานเองอัตโนมัติเมื่อตรวจพบข้อมูลตามเงื่อนไขเช่นเดียวกัน โดยอุปกรณ์ในส่วนนี้เห็นได้ชัดว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยลดแรงปะทะระหว่างลมและตัวรถในส่วนล่าง โดยลักษณะใบมีดขออง Winglet ที่จะกรีดลมที่วิ่งย้อนสวนในด้านล่างให้กระจายออกไปในด้านข้างไม่ให้ปะทะกับตัวรถโดยตรง และมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าระบบในส่วนนี้สามารถสั่งการให้เปิดและปิดได้ด้วยตัวผู้ขับขี่เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบ Ai ในการคำนวนค่าตามเงื่อนไขต่างๆ อีกด้วย
ในส่วนสุดท้ายนับได้ว่าเป็นส่วนที่แปลกที่สุดในบรรดาอุปกรณ์อากาศพลศาสตร์ที่เราพบเจอ เพราะมันติดตั้งอยู่ในส่วนหน้าตัวรถ ซึ่งเรามักจะเรียกจุดนี้ว่า “จมูก” รถ โดยหลักการทำงานนั้นจะเริ่มต้นด้วยการปิดระบบ ซึ่งภาพรวมก็จะเปิดกับส่วนหน้าของรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป แต่เมื่อระบบเปิดการทำงานเจ้า “จมูก” นั้นจะพับลงและจะกลายเป็นพื้นที่แรงของตัวรถที่จะปะทะโดยตรงกับกระแสลมและอากาศ ซึ่งหลักการนี้คล้ายกับหลักการ Air Brake ที่ติดตั้งในเครื่องบิน เพื่อเป็นส่วนที่จะช่วยในการชะลอความเร็ว เปลี่ยนแปลงทิศทางของลม และช่วยในการปรับระยะของการเบรกให้สั้นลงกว่าเดิม โดยหลักการทำงานของระบบจมูกช่วยเบรกนี้ จะทำงานร่วมกับแกน IMU และ Gyro ที่ติดตั้งในตัวรถ เมื่อตรวจเจอการลดความเร็วลงอย่างกระทันหันระบบจะเปิดการทำงานทันที และยังสามารถควบคุมการทำงานของระบบได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอให้ระบบคำนวนและสั่งเปิดการทำงาน ได้อีกด้วย
เห็นได้ชัดว่าตามข้อมูลที่ได้มานั้น Honda ค่อนข้างจะตีโจทย์ในเรื่องของการกำหนดระเบียบใหม่ของการแข่งขัน WorldSBK ได้ค่อนข้างจะตรงเป้า และมีข้อกำหนดในตัวรถแข่งที่จะใช้ในการแข่งขันรายการนี้ “รถตลาดขายยังไง ก็ต้องเอาแบบนั้นมาแข่ง” ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าเจ้า Honda CBR1000RR-R SP ที่จะใช้แข่งและขายในปีหน้าจะมีการติดตั้งระบบนี้เพิ่มเข้ามา ซึ่งก็ต้องมาลุ้นกันว่าเจ้าระบบ New Active-Aero นี้จะมีข้อมูลเพิ่มเติมหรือจะมีการทดสอบมันในเร็วๆ นี้หรือไม่ แฟนๆ ค่ายปีกนกต้องติดตามกันต่อไปครับ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.bennetts.co.uk
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.