Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 1150x250
Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 400x300

VVA กับความเข้าใจที่คาดเคลื่อน

นับเป็นเวลาร่วม 3 ปี แล้วที่ Yamaha ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์จากประเทศญี่ปุ่นได้นำเสนอนวัตกรรม VVA (Variable Valve Actuation) หรือที่เราจะคุ้นเคยกับคำนิยามว่า “วาล์วแปรผัน” ซึ่งจนถึงปัจจุบันนั้นยังมีผู้คนที่ยังเข้าใจหลักการทำงานและผลลัพธ์ของมันแบบผิดๆ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาอธิบายและยกตัวอย่างให้เพื่อนได้เข้าใจในแนวทางที่ตรงกัน

Yamaha Aerox 155

VVA หรือระบบวาล์วแปรผันนั้น เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงในขณะขับขี่ทั้งในย่านความเร็วต่ำและสูง โดยที่หลักการทำงานนั้นระบบ VVA จะควบคุมวาล์ว (valve) โดยขึ้นอยู่กับการหมุนของเครื่องยนต์ในรอบต่อนาที พร้อมกับโซลินอยด์แอคชูเอเตอร์ส่วนประกอบนี้จะผลักหมุดเพื่อย้ายไปยังส่วนหลังที่สูงกว่าหรือในทางกลับกัน โดยระบบจะมีการปรับตำแหน่งของตัววาล์วอยู่สองรอบ คือในรอบที่เครื่องยนต์ต่ำกว่า 5,000 รอบต่อนาที และสูงกว่า 6,000 รอบต่อนาที โดยประมาณ

หลักการทำงาน VVA

โดยในระบบ VVA นั้นจะมีส่วนของ Camp ที่มีการเซ็ทค่า Profiles อยู่สองรูปแบบคือ Smoke และ Exhust โดยในแต่ล่ะ Profiles จะมีการเซ็ทค่าย่อยๆ ลงไปเป็นค่า “ดูด” (Suction) ที่จะปรับตำแหน่งวาล์วให้เหมาะสมกับย่านความเร็วต่ำ และ “คาย” (Discard) ในการปรับตำแหน่งวาล์วในย่านความเร็วสูง โดยการดำเนินการกำจัดเหล่านี้จะควบคุมโดย selenoid actuator ส่วนประกอบนี้จะผลักหมุดเพื่อเคลื่อนที่ตามต้องการ โดยที่การหมุนของเครื่องยนต์จะดำเนินต่อไปอย่างราบลื่นไม่มีอาการกระตุกหรือกระชากจากการเปลี่ยนรอบความเร็วของเครื่องยนต์โดยเฉียบพลัน

selenoid actuator 
selenoid actuator 

ดังนั้นจะบอกว่าระบบ VVA นั้นจะช่วยให้ตัวรถนั้นแรงขึ้นกว่ารถที่ไม่มีการติดตั้งระบบี้ ก็ถูกอยู่ประมาณหนึ่ง แต่ถ้าจะให้ถูกต้องตามหลักการสากลแล้ว VVA จะเข้ามาช่วยเสริมการทำงานมากกว่าการส่งให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นมากกว่าหากเทียบกับเครื่องยนต์ที่ไม่ติดตั้งระบบนี้ และการทำงานของเครื่องยนต์นั้นจะลดภาระต่อการกระทำจากผู้ขับขี่ที่มีการปรับเปลี่ยนจังหวะในการขับขี่หรือการเดินคันเร่งได้ดีกว่า คือถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือมันช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดอาการเสียจังหวะระหว่างต่อย่านความเร็ว มันทำให้การต่อความเร็วในการหมุนเครื่องยนต์นั้นสมบูรณ์มากขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้มาคือเมื่อเราไม่เสียจังหวะหรืออาการในการต่อความเร็วในแต่ล่ะย่านแล้ว จึงทำให้ตัวรถนั้นดูแรงและสามารถวิ่งได้เร็วกว่ารถที่ไม่ติดตั้งระบบนี้นั่นเอง

Yamaha YZF-R15

หากจะนับเฉพาะผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว Yamaha ยังคงเป็นเจ้าเดียวที่มีการนำเอาระบบ VVA มาติดตั้งในรถมอเตอร์ไซค์ขนาด 150 ซีซี ซึ่งในคู่แข่งแล้วดูเหมือนจะมีเพียง Honda ที่กำลังพัฒนาระบบวาล์วแปรผันนี้ในรถมอเตอร์ไซค์คลาสเล็ก ส่วน Yamaha นั้นปัจจุบันมีรถที่ติดตั้งระบบ VVA จำหน่ายในท้องตลาดอยู่ถึง 5 รุ่น แทบจะครอบคลุมทุกๆ แนวทางของรถมอเตอร์ไซค์ในตลาส 150 ซีซี ประกอบไปด้วย Yamaha Aerox155, NMax155, YZF-R15, MT-15 และน้องใหม่ XSR155

Yamaha MT-15

สุดท้ายนี้ เพื่อนๆ น่าจะพอเข้าใจ และเรียนรู้หลักการทำงานแบบคร่าวๆ ของเจ้าระบบ VVA กันแล้ว ซึ่งจะบอกว่าหากเราศึกษาแต่ภาคทฤษฎีแต่ไม่เคยได้ทดลองก็คงไม่สามารถเข้าใจมันได้อย่างชัดเจน หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยหรืออยากทดลองความแตกต่างของระบบ VVA จากรถมอเตอร์ไซค์ Yamaha ก็ลองเข้าไปสอบถามโชว์รูม Yamaha ใกล้บ้านท่านได้ หรือจะสอบถามมายังแฟนเพจ Greatbiker.com ทางเราก็ยินดีที่จะตอบคำถามในส่วนที่สามารถให้คำตอบได้ครับ