จำเป็นหรือไม่ กับการใส่หน้ากากอนามัยเวลาสวมหมวกกันน็อค
นับว่าลดความรุนแรงลงไปมากแล้วสำหรับการระบาดของเชื้อไวรัส Corona ในประเทศไทย ที่ทุกวันนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็นหลักหน่วยและค่อยๆ ลดจำนวนลงในทุกๆ วัน แต่อย่างพึ่งนิ่งนอนใจไป เพราะการระบาดมันอาจจะกลับมาได้อีกเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครทราบ โดยวิธีที่จะป้องกันและช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อนอกจากรักษาระยะห่างจากคนอื่นราวๆ 2 เมตรแล้ว การสวมหน้ากากอนามัยก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยป้องกันเราได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งในการสวมหน้ากากอนามัยนี้แหละที่กลายเป็นคำถามสำหรับคนขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วโลก ว่าเราควรจะสวมใส่หน้ากากนั้นเวลาสวมหมวกกันน็อคหรือไม่ อย่างในบ้านเราเองอาจจะไม่ค่อยมีปัญหาในวงกว้างสักเท่าไหร่ เพราะจากจำนวนเปอร์เซนต์ของผู้ใช้รถมอเตอร์ไซค์ในบ้านเรานั้นประเภทของหมวกกันน็อคแบบครึ่งใบหรือแบบเปิดคางนั้นมีจำนวนที่มากกว่า และการใส่หน้ากากอนามัยภายใต้หมวกกันน็อคประเภทนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวายจนเกินไป อีกทั้งหากหมดช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ไปแล้วเราอาจจะได้เทรนในการสวมหน้ากากอนามัยในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์เพิ่มเข้ามา เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแล้ว มันยังช่วยในการป้องกันละอองฝุ่นขนาดเล็กที่เกิดจากการจารจร หรือเป็นส่วนที่ช่วยป้องกันใบหน้าไม่ให้โดนกับแสงแดดที่แสนจะเร้าร้อนสำหรับประเทศเขตร้อนชื้นแบบบ้านเราอีกด้วย
ปัญหาใหญ่สุดก็คงไม่พ้นกับผู้ใช้งานหมวกกันน็อคแบบเต็มใบ บางคนอาจจะเคยชินกับการสวมใส่ผ้าบัฟก่อนจะสวมหมวกกันน็อค เพื่อป้องกันเหงื่อหรือสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่ใส่บนผม หรือแม้แต่ป้องกันเครื่องสำอางค์ที่ติดอยู่บนใบหน้า แต่เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าเหล่าผ้าบัฟที่มีส่วนที่ปิดในตำแหน่งของจมูกและปากที่เพื่อนใช้กันประจำ มันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้เลยแม้แต่น้อย เห็นได้ชัดว่าหมวกกันน็อคมอเตอร์ไซค์เต็มใบที่ดีช่วยระบายอากาศให้ไหลเวียนได้ดีขึ้นภายในหมวก ซึ่งเป็นเหมือนกับพื้นที่กึ่งปิด โดยจะมีทางเดินของอากาศไหลเข้าและออกตามหลักการของหมวกแต่ใบที่ออกแบบตามแต่ยี่ห้อ ดังนั้นการสวมใส่หน้ากากอนามัยในยามสวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบนั้นก็กลายเป็นเรื่องที่สำคัญ
หากมองแบบนี้เราอาจจะหันไปให้ความสนใจในการสวมใส่หน้ากากอนามัยในยามที่เราสวมหมวกกันน็อคมากขึ้น แต่มันก็มีข้อเสียอยู่ ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายที่ร้ายแรง โดยทฤษฎีทางการแพทย์ได้บอกไว้ว่า เมื่อยามที่เราตื่นตัวหรือตื่นเต้นกับอะไรบ้างอย่าง ร่างกายจะหลั่งสาร “อะดรินาลีน” จะทำให้การเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ผลคือจะทำให้การหายใจของคุณเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปกติ ซึ่งการสวมใส่หน้ากากอนามัยจะเป็นการลดการหายใจ ทำให้เราหายใจลำบากมากขึ้น และเมื่อหายใจลำบากสมองและระบบสั่งการจะทำงานหนักขึ้นและอาจจะเกิดอาการ สมองขาดออกซิเจน จนทำให้หมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ (อ้างอิงจาก Dr. Tommy Lim ให้สัมภาษณ์กับ MotoPinas)
แล้วแบบนี้เราควรทำอย่างไร น่าจะเกิดคำถามตัวโตๆ เกิดขึ้นในหัวของเพื่อนๆในตอนนี้ บางคนอาจจะคิดว่าก็ไม่ยากนะ ก็แค่เปลี่ยนหมวกกันน็อคมาใส่แบบเปิดคางแล้วก็สวมหน้ากากอนามัย ลดความเร็วในการขับขี่ลงให้ช้าลงสักหน่อยก็น่าจะช่วยได้ การคิดแบบนี้ก็ถูกและเป็นทางออกที่น่าจะดี แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้กับบางคนที่คิดว่าการเปลี่ยนหมวกกันน็อคใหม่เป็นแบบนั้น อาจจะไม่เหมาะสมกับตัวรถของตัวเองสักเท่าไหร่ เรื่องนี้ Dr. Tommy Lim มีทางออกให้ครับ
Dr. Tommy Lim ได้บอกไว่ว้า วิธีการที่ง่ายที่สุดของเรื่องนี้คือ
– งดไม่ให้มีผู้โดยสารซึ่งก็เป็นไปตามหลักการ Social Distancing และคงไม่มีใครที่จะขี่มอเตอร์ไซค์กันใกล้กว่าระยะ เมตรแน่นอน
– พกเจลทำความสะอาดที่มีส่วนประกอบของ Ethanol 60% หรือ Isopropanol 70% ติดตัวเสมอ และใช้มันทำความสะอาดแฮนด์หรือส่วนที่เราต้องจับในการขับขี่มอเตอร์ไซค์เป็นประจำ
– เมื่อถึงที่หมาย หรือจำเป็นต้องถอดหมวกกันน็อค จำเป็นต้องปิดปากให้สนิทและสวมหน้ากากอนามัยในทันที
เพียงเท่านี้เราก็จะลดปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อและลดอันตรายจากการสวมหน้ากากอนามัยในยามขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ หากเพื่อนๆ ที่คิดว่าวิธีการของ Dr. Toomy ดูจะยุ่งยากไป เราก็มีวีธีมานำเสนอเหมือนกัน ง่ายๆ เพียงเพื่อนๆ สวมใส่หน้ากากอนามัยไว้ใต้หมวกกันน็อคตามปกติและลดความเร็วในการขับขี่ลด จากที่เคยขี่สัก 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลงมาเหลือสัก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากจะง่ายและปลอดโรคแล้วยังช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ไปในตัวอีกด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก www.rideapart.com www.motopinas.com
Keattisak Ngamkham – Writer, automotive journalist with experience The whole motorcycle industry and the motorsport industry Expert in doing reviews of all types of motorcycles.