Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 1150x250
Banner Yamaha Grand Filano Hybrid Connected 2024 400x300

ทุกวันนี้เราใช้ “เบรก” รถมอเตอร์ไซค์ได้ถูกต้องขนาดไหน?!!

การเบรกหรือการห้ามล้อ นั้นเป็นระบบพื้นฐานสำคัญ ที่รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันจำเป็นจะต้องมี และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ขับขี่จะต้องใช้งานมันทุกๆ ครั้งที่ขับขี่ และเราเชื่อว่า ยังคงมีหลายๆ คนอาจจะมีความเข้าใจผิดๆ ของระบบเบรกในรถมอเตอร์ไซค์อยู่ ดังนั้นในครั้งนี้ทีมงาน GreatBiker เลยอยากจะพาเพื่อนๆไปทำความเข้าใจและการใช้งานพื้นฐานของระบบเบรกกันสักหน่อยครับ

1T2S4J.jpg

ระบบเบรกคืออะไร

ระบบเบรกคือการบังคับล้อให้มีการหมุนของล้อที่ลดจำนวนลง จากการหมุนมากรอบให้ชะลอการหมุนหรือหยุดหมุน เพื่อการลดความเร็วของยานพาหนะ ซึ่งระบบเบรกนั้นจำแนกออกได้เป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.เบรกหน้า (Front Brake) 2.เบรกหลัง (Rear Brake) และ 3.เบรกด้วยเครื่องยนต์ (Engine Brake) ซึ่งการทำงานของระบบเบรกทั้งสามนั้นมีความแตกต่างและผลจากการกระทำที่แตกต่างกัน โดยมากระบบเบรกที่สำคัญๆในรถมอเตอร์ไซค์นั้นจะเป็นเบรกหน้า และเบรกด้วยเครื่องยนต์ ส่วนระบบเบรกหลังนั้นจะใช้สำหรับการทรงตัวเสียเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การกดเบรกหน้าเพื่อทำการชะลอและหยุดรถ โดยมี Engine Brake เป็นตัวช่วยฉุดเครื่องยนต์ให้มีแรงกระชากจากการลดความเร็ว และทำการแตะเบรกหลังเพื่อให้รถตั้งตรง เป็นต้น

รูปแบบของระบบห้ามล้อในรถมอเตอร์ไซค์ยุคปัจจุบัน

หลังจากที่เราสามารถจำแนกประเภทของการเบรกแล้ว เรามาเรียนรู้รูปแบบของระบบเบรกกันบ้าง ระบบเบรกในรถมอเตอร์ไซค์ในยุคปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 รูปแบบหลักซึ่งแยกตามการจับของล้อ

รูปแบบแรกคือระบบเบรกดั่งเดิม ดรัมป์เบรก (Drum Brake) ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีเมื่อเราส่งกำลังไปยังแป้นเบรกหรือก้านเบรก ผ่านปั้มเบรกด้านในที่จะทำการกระชับผ้าเบรกเข้ากับอุปกรณ์เพื่อทำการห้ามล้อ โดยแรงจากการเบรกจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของการกดแป้นเบรก สำหรับรถมอเตอร์ไซค์แล้วระบบเบรกแบบดรัมป์ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ โดยเฉพาะในรถมอเตอร์ไซค์ขนาดไม่เกิน 125 ซีซี และระบบดรัมป์เบรกหลังในรถขนาด 150 ซีซี อีกด้วย

Kqh2Lz.jpg
ระบบเบรกแบบดรัมป์เบรก

รูปแบบที่ 2.ระบบดิสก์เบรก เป็นรูปแบบที่เราเห็นกันจนชินตาไม่ว่าจะในรถเล็กหรือใหญ่ ซึ่งมันก็แบ่งออกย่อยๆไปอีกตามรูปแบบของจานดิสก์ ซึ่งหลักการทำงานของมันก็คือ ใช้แรงกดจากการ บีบหรือเหนียบแป้นเบรก ส่งไปยังระบบปั้มเบรกบนเพื่อส่งน้ำมันเบรกเข้าไปหล่อลื่นตัว คาลิปเปอร์ที่ติดตั้งอยู่ที่บริเวณจานเบรก และตัวคาลิปเปอร์จะทำการจับกับจานเบรกเพื่อทำการชะลอรอบการหมุนของวงล้อ โดยเป็นการลดแรงกระทำที่จะเกิดขึ้นโดยตรงต่อวงล้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดของตัวแกนและสามารถกระจายแรงกดได้ดีกว่าการห้ามล้อตรงแกนกลาง

1T2dbD.png
จานดิสก์เบรก

สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ในยุคปัจจุบัน ยังมีการผสมระบบเบรกแบบดรัมป์เข้ากับระบบดิสก์ในรถมอเตอร์ไซค์ขนาด 150 ซีซี ส่วนรถที่มีซีซีสูงกว่านี้จะนิยมใช้ระบบเบรกแบบ ดิสก์หน้าหลังมากกว่า เพราะมีความสามารถในการชะลดรอบการหมุนที่ดีกว่า แต่ระบบเบรกแบบดิสก์เบรกนั้นจะมีอุปกรณ์ที่ดูยุ่งยากกว่าระบบดรัมป์เบรก

นวัตกรรมระบบห้ามล้อ

ระบบเบรกในปัจจุบันมีระบบช่วยเหลืออยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบพื้นฐานอย่าง ABS หรือ Anti-Lock Brake System ที่สามารถแปลแบบตรงตัวได้ว่า ระบบป้องกันล้อล็อกตาย โดยระบบเบรกนี้จะมีข้อดีที่ช่วยป้องกันไม่ให้วงล้อนั้นมีอาการล็อก โดยระบบจะมีการติดตั้งตัว Sensor ไว้วงในสุดของจานดิสก์เบรก เพื่อเป็นจุดชี้วัดจำนวนการหมุนที่ลดลงอย่างรวดเร็วของวงล้อ sensor จะทำการตัดกำลังของคาลิปเปอร์เบรก เพื่อให้วงล้อนั้นยังคงหมุนต่อไป และทำให้ตัวรถนั้นไม่สูญเสียการควบคุม แต่ก็แลกมาด้วยระยะเบรกที่จะยาวกว่ารถที่ไม่มีระบบ ABS

1T2BZq.jpg

ระบบต่อมาคือการพัฒนาแบบลูกผสม CBS หรือ Combine Brake System ที่จะเป็นการนำเอาข้อดีของระบบเบรกแบบดรัมป์และดิสก์มาผสมกัน โดยระบบเบรกนี้จะทำงานจากการแรงกดหรือบีบ แป้นเบรก-ก้านเบรก และทำการกระจายแรงเบรกไปยังฝั่งตรงข้าม ยกตัวอย่างเช่น เราบีบเบรกล้อหน้าอย่างรุนแรง ระบบจะทำการห้ามล้อหลังแบบอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้เหยียบแป้นเบรก ซึ่งระบบนี้จะทำให้ได้ระยะเบรกสั้นกว่าระบบ ABS แต่มีโอกาสสูงที่วงล้อจะเกิดอาการล็อกจากการห้ามล้อแบบเฉียบพลัน จนทำให้สูญเสียการควบคุม

1T239R.jpg
การทำงานระบบ CBS

ระบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นบนรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ Cornering ABS หรือระบบป้องกันล้อกล็อกขณะเข้าโค้ง โดยการทำงานของระบบเบรก ABS นั้นจะอิงกับจำนวนการหมุนของวงล้อเป็นหลัก ไม่มีการนับองศาหรือพื้นที่สัมผัสของหน้ายาง จึงทำให้การใช้งาน ABS ในโค้งนั้นก่อให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง แต่ในระบบ Cornering ABS นั้นจะมีหน่วยวัดอัตราการเอียงของตัวรถ หรือแกน IMU ที่จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลอัตราองศาการเอียงของตัวรถให้สอดคล้องกับ Sensor ABS ทำให้การบีบปล่อยของคาลิปเปอร์นั้นสอดคล้องกับองศาตัวรถ ลดปัจจัยเสี่ยงจากพื้นที่สัมผัสหน้ายางไม่เพียงพอในการทรงตัว โดยระบบนี้จะเป็นระบบช่วยยกตัวให้ล้อหน้าตั้งขึ้น เหมือนกับการเหยียบเบรกหลังในรถมอเตอร์ไซค์นั้นเอง

1T2X2q.jpg

1T2Nda.png

การเบรกแต่ล่ะแบบใช้ตอนไหนและใช้อย่างไร

อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ ระบบเบรกในรถมอเตอร์ไซค์นั้นจำแนกออกมาได้ 3 ประเภท เบรกหน้า เบรกหลัง และ Engine Brake ซึ่งลักษณะการใช้งานของสามรูปแบบนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน เรามาดูกันว่าการเบรกแต่ล่ะอย่างใช้การอย่างไรและส่งผลอย่างไรบ้าง

1T2aFz.jpg
1.เบรกหน้า (Front Brake)
ระบบเบรกที่สำคัญที่สุดในรถมอเตอร์ไซค์ ระบบเบรกหน้านั้นจะมีประสิทธิภาพในการชะลอความเร็วที่มากที่สุด สังเกตได้จากขนาดจานดิสก์ในรถมอเตอร์ไซค์จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าด้านหลังเสมอ เพราะการควบคุมตัวรถทั้งคันอยู่ที่ส่วนหน้าของตัวรถการมีขนาดจานเบรกที่ใหญ่จะช่วยในการลดแรงต้านจากการห้ามหรือชะลอตัวของวงล้อ การทำงานของมันจะเริ่มต้นด้วยการบีบก้านเบรกที่ติดตั้งที่แฮนด์ด้านขวามือของผู้ขับขี่ ส่งแรงบีบไปตามสายเพื่อทำการฉีดน้ำมันส่งเข้าไปยังคาลิปเปอร์เพื่อทำการบีบกับจานเบรก โดยมีลูกสูบเป็นตัวย้ำแรงเพื่อให้วงล้อชะลอตัวหรือหยุดหมุน ซึ่งการทำงานของระบบเบรกหน้านั้นจะสมบูรณ์แบบก็ต้องเมื่อผู้ขับขี่มีการถ่ายเทน้ำหนักที่เหมาะสม ด้วยการยืดแขนให้พอดีแต่ไม่ให้แขนตึงหรืองอจนเกินไป ตั้งตัวให้ตรง เข่าหนีบถังน้ำมัน สายตามองตรงไป แรงกดจากส่วนหน้าของรถเมื่อรวมกับการถ่ายน้ำหนักแบบนี้ จะทำให้แรกในการเบรกกระจายลงตรงกลางของตัวรถ ทำให้เกิดแรงต้านที่เสถียร ไม่เทไปในส่วนหน้าจนทำให้ล้อหลังยกตัวนั่นเอง

1T2y8I.jpg
2.Engine Brake

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า Engine Brake นั้นเป็นการชะลอรถด้วยแรงฉุดของรอบเครื่องยนต์ที่ตกลงจากรอบปัจจุบัน อธิบายง่ายๆ คือ การลดรอบเครื่องยนต์ลงจะเกิดแรงฉุดหรือแรงต้านจากจำนวนการหมุนของเครื่องยนต์ที่ต่ำลง ซึ่งการทำงานของมันง่ายมากๆ นั่นก็คือการไม่บิดคันเร่ง และไม่กำคลัทซ์ ตัวเครื่องยนต์รอบจะตกจากเดิมในทันที จนเกิดแรงฉุดขึ้นและจะยิ่งหนักขึ้นหากเราปรับลดเกียร์ลง รอบเครื่องยนต์จะมีการตีกลับและเกิดแรงกระชากทำให้ตัวรถสามารถชะลอความเร็วลงได้ แม้ไม่ต้องแตะเบรก แต่ในกรณีที่ต้องการหยึดตัวรถนั้น การเปิดใช้งานแต่ระบบ Engine Brake นั้นไม่สามารถทำได้ จะต้องใช้ระบบเบรกหน้าบวกกับ Engine Brake ควบคู่กันไป

1T2YQb.jpg
3.เบรกหลัง (Rear Brake)

ระบบเบรกหลังนั้นจะใช้ในการชะลอความเร็วเป็นส่วนมาก หากจะใช้ในการหยุดรถ ก็สามารถทำได้แต่จะมีระยะเบรกที่ยาวกว่าการใช้เบรกหน้า อีกคุณสมบัติพิเศษของระบบเบรกหลังก็คือ การเหนียบเบรกหลังหรือบีบเบรกหลังในรถสกู๊ตเตอร์นั้น จานเบรกหรือก้ามปูเบรก (ในระบบดรัมป์เบรก) จะทำหน้าที่พยุงให้วงล้อตั้งตัวโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการกดเบรกไม่ว่าจะแรงมากน้อยเพียงใด วงล้อจะพยายามตั้งตัวขึ้นตามแรงที่ผู้ขับขี่ส่งไป

ความเข้าใจผิดๆกับการใช้เบรก

หลายๆ คนเคยอาจจะได้ยินมาว่า ในเวลาที่เราเข้าโค้งนั้นห้ามใช้เบรกโดยเด็ดขาด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นเสมอไป หลายๆ คนมักจะบอกว่าหากต้องการลดความเร็วในโค้งให้ยกคันเร่งปล่อยคลัทซ์ แต่ถ้าในกรณีที่จำเป็นจริงๆ การใช้งานเบรกหลังก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพราะตัวรถจะทำการปรับองศาจากเอียงมาตั้งตรง พอรถตั้งตรงแล้วการใช้เบรกหน้าก็สามารถทำได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถบิ๊กไบค์ปัจจุบันเริ่มมีการใช้งานระบบ Cornering ABS กันบ้างแล้วดังนั้นการใช้งานเบรกในโค้งนั้นสามารถทำได้ และตัวรถก็ไม่ถึงกับเสียอาการ

1T2fsz.jpg

ยังมีเรื่องรายละเอียดหยิบย่อยของเจ้าระบบเบรกอีกมากมายที่เราอยากให้เพื่อนได้ทราบโดยทั่วกัน แต่ในครั้งนี้คงต้องของจบเรื่องเบรกพื้นฐานลงก่อน ไว้โอกาสหน้าเราค่อยมาต่อกัน แล้วเจอกันใหม่โอกาสต่อไปครับ